Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
52
(1.2) การยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย GAP
เกษตรกรกลุ่ม GAP ส่วนใหญ่ยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย GAP โดยมีความคิดเห็นว่า การ
ปลูกพริกในระบบปลอดภัยมีข้อดี ดังนี้
1. ความแน่นอนของราคา ตลาดมีความต้องการ ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปและแน่นอนกว่า
2. ในการปฏิบัติมีความปลอดภัยต่อตนเอง (เกษตรกรผู้ผลิต) และผลผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภค
3. ลดต้นทุนการผลิต มีการวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจใช้สารเคมีอย่างมีเหตุผล
4. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรที่ทํา GAP มีระบบกลุ่มในการร่วมกันตัดสินใจ มี
อํานาจต่อรองมากขึ้น
5. เกษตรกรมีการพิจารณาทําในพื้นที่น้อย เน้นคุณภาพ เหนื่อยน้อยลง (ปลูกน้อยได้เงินมาก)
ส่วนข้อด้อยในการเข้าสู่ระบบ เกษตรกรเห็นว่า มีความยุ่งยากในขั้นต้น ซึ่งจะต้องมีการจดบันทึกทุก
ขั้นตอน และเกษตรกรจะต้องมีความรู้และสามารปฏิบัติในการเข้าสู่ระบบได้ ดังนั้นจึง ต้องเข้ารับการอบรม
แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งเกษตรกรจะต้อง มีเวลา และในส่วนของที่ปรึกษาด้านวิชาการเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ขาด
ความต่อเนื่องในการติดตามให้คําแนะนํา
(1.3) ปัญหาการปลูกพริกเกษตรกรกลุ่ม GAP
เกษตรกรกลุ่ม GAP ยังประสบกับปัญหาในการขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตตาม
ระบบ GAP หรือการผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยังขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ขาดการรวมกลุ่มที่
ชัดเจน และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบกับปัญหาด้านโรคระบาด กุ้งแห้ง ช่วงปลายฝนต้นหนาว และ เพลี้ย
ไฟ/ไรขาว และปัญหาปัจจัยการผลิต ขาดเงินลงทุน ปุ๋ ยเคมี สารเคมี นํ้ามันราคาสูง และค่าจ้างแรงงานเก็บ
เกี่ยวผลผลิตพริกสูง จากปัญหาการผลิตของเกษตรกรที่ยังไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และการรวมกลุ่ม
ผู้ผลิตที่ไม่ชัดเจน ทําให้เกษตรกรยังประสบปัญหาราคาผลผลิตไม่แน่นอน ราคาผลผลิตพริกที่ขายได้จะอยู่ใน
ช่าง 25-50 บาท/กิโลกรัม
(1.4) แนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันของเกษตรกรกลุ่ม GAP
1. การอบรม/ศึกษาดูงานด้านการผลิตในระบบ GAP เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับเกษตรกรที่มี
ความต้องการยกระดับการผลิตให้ได้มาตรฐาน
2. การรวมกลุ่มผู้ผลิตพริกเพื่อส่งขายให้กับบริษัท เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยการผลิต การขนส่ง แรงงาน
เก็บเกี่ยว และการต่อรองราคากับกลุ่มบริษัท
3. การลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัสดุเหลือใช้/การปลูกพืชสลับ เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การ
และเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร และการลดต้นทุนการผลิต
4. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ปลูกพริกกับหน่วยงานราชการและบริษัท
(ภาพที่ 4-5)