Page 70 -
P. 70

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             49



                    สรุปสภาวการณ์การผลิตพริกในจังหวัดนครปฐม พื้นที่อําเภอกําแสน อําเภอเมือง และอําเภอดอนตูม

             มีสภาพดิน นํ้ามีความเหมาะสมในการปลูกพริก   เกษตรกรผู้ปลูกพริกมี 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม  GAP  และ
             Non-GAP เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยตํ่ากว่ากลุ่ม GAP เกษตรกรกลุ่ม GAP มี

             สัดส่วนผู้สําเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาสูงกว่า และมีสัดส่วนการเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร

             สูงกว่า ซึ่งทั้งการศึกษาและการเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรอาจเป็นเหตุผลที่ทําให้เกษตรกรยอมรับ
             เทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยในระบบ GAP

                    4.1.3 ข้อมูล ปัญหา ความต้องการและแนวทางการแก้ปัญหาการปลูกพริกจากการจัดเวทีชุมชน


                    การจัดเวทีชุมชนเกษตรกร ผู้ผลิตพริกในจังหวัดนครปฐม โ ดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในการ
             รวบรวมข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง กับชุมชนในกิจกรรมการปลูกพริก  ในการจัดเวทีชุมชนนักวิจัย

             อธิบายวัตถุประสงค์และรายละเอียด/ขั้นตอนการจัดเวทีชุมชนการอภิปราย  โดยจัดแบ่งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต

             พริกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ปลูกพริกตามระบบ GAP หรือกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง  Q และ (2) กลุ่ม

             ผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป Non - GAP เพื่อแยกทํากิจกรรมการอภิปรายกลุ่มเรื่องเหตุผลที่ ใช้หรือไม่ใช้การปฏิบัติ
             ทางการเกษตรที่ดีในการผลิตพริกของเกษตรกร  และการอภิปรายกลุ่มหาจุดดีและจุดด้อยของการผลิตพริกที่

             ไม่ใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี   (GAP)  การนําเสนอผลการทํางานร่วมกัน พร้อมปรับแก้ข้อมูลตามมติที่

             ประชุม (เวทีประชาพิจารณ์) พบว่า

                    1) กลุ่มผู้ปลูกพริกตามระบบ GAP หรือกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง Q


                    จากการเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณนํ้าฝนย้อนหลัง 10 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา กับข้อมูลที่รวบรวมใน
             เวทีชุมชนของเกษตรกร พบว่ามีความสอดคล้องกัน โดยพบว่าปริมาณฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน-

             ตุลาคม ในเดือนธันวาคม มกราคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีฝนตกน้อยมาก



                                          ปริมาณนํ�าฝนเฉลี�ย ปี  2541-2550


                             250
                                                                        218.7 208.6
                            ปริมาณนํ�าฝน (มิลิเมตร)  150  139.5 109.8 107.1  99
                             200




                             100

                              50
                                  5.8  13.9  47.2  50                              49.3  12.1
                               0
                                  ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

             ภาพที่ 4-3 ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ย ปี 2541-2550

             ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา, 2552
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75