Page 71 -
P. 71

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                          50



                         (1.1) ขั้นตอนในการปลูกพริกของเกษตรกร มีดังนี้

                        เกษตรกรกลุ่ม GAP  ส่วนใหญ่ปลูกพริกพันธุ์จินดา มีการกระจายตัวอยู่ทั้ง 2 ตําบล มีข้อแตกต่างกัน

                 ระหว่างกลุ่ม คือกลุ่มเกษตรกรตําบลหนองกระทุ่มมีการปลูกพริกจินดาเก็บแดง ส่วนกลุ่มเกษตรกรตําบลบ้าน

                 ยางเก็บพริกเขียว และขั้นตอนการทํากิจกรรมการเพาะปลูกเกษตรกรตําบลหนองกระทุ่มจะเริ่มปลูกพริกก่อน

                 เกษตรกรตําบลกําแพงแสนประมาณเดือนครึ่ง โดยเกษตรกรหนองกระทุ่มมีกิจกรรมในการเตรียมแปลงเดือน
                 มกราคม –กุมภาพันธ์ พร้อมกับการเพาะกล้าล่วงหน้า ในขั้นตอนการเพาะกล้า จะมีการใช้สารเคมีคลุกเมล็ด

                 ก่อนเพาะ เพื่อป้ องกันโรค ใช้เวลาในการเพาะต้นกล้าประมาณ 45 วัน  การเตรียมดินไถเพื่อตากดิน ซึ่งมีการ

                 ไถ 3 รอบ คือไถดะ ไถแปร และชักร่อง และ การปลูก มีการปลูกโดยวิธีดํากล้า หรือขุดหลุมปลูกในช่วง
                 กลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนมีนาคม เกษตรกรบางรายมีการซื้อต้นกล้า (ไม่เพาะเอง) การดูแลรักษา มีการ

                 กําจัดวัชพืชโดยวิธีการใช้แรงงานคน หรือการฉีดพ่นสารเคมี และการให้นํ้า การใส่ปุ๋ ย สูตร 16-20-0 และสูตร

                 45-0-0 และการฉีดพ่นสารเคมี/ฮอร์โมน ช่วงกุมภาพันธ์   – กรกฏาคม และ เก็บเกี่ยว ผลผลิตพริกในเดือน

                 เมษายน-สิงหาคม จะมีผู้รวบรวมผลผลิตเข้ามาซื้อผลผลิตพริกในชุมชน และเกษตรกรจะตัดต้นพริกทิ้ง
                 ในช่วงเดือนตุลาคม


                        การใช้แรงงานของเกษตรกร  มีการใช้แรงงานในการเตรียมดิน โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะจ้างเตรียม
                 ดิน และใช้แรงงานในช่วงปลูก ดํากล้า โดยใช้แรงงานประมาณ 3-4 คน/ไร่  เกษตรกรใช้แรงงานมากในช่วง

                 การเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจากหนองกระทุ่มจะเก็บพริกแดง 5 วันเก็บ 1 ครั้ง ใช้แรงงานในการเก็บ 10

                 คน/ไร่/วัน เกษตรกรกําแพงแสนเก็บพริกเขียวแดง 12 วันเก็บ 1 ครั้ง ใช้แรงงาน 5-6 คน/ไร่/2 วัน

                        ปฏิทินการใช้นํ้าของเกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้นํ้าบาดาลในช่วงหน้าแล้ง และจะใช้นํ้าฝน

                 ตั้งแต่เดือนแมษายนเป็นต้นไป ยังมีการใช้นํ้าบาดาลในช่วงฝนทิ้งช่วง ดังแสดงในแผนภาพที่ 4-4
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76