Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
46
5. เดือนมีนาคม – ตุลาคม ฉีดสารกําจัดโรคแมลงทุก 15 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
6. ฉีดสารเคมีกําจัดวัชพืช เช่น พาราควอต ไกลโฟเซท ประมาณ เดือนละ 1 ครั้ง
7. หลังปลูก 4 เดือน เริ่มเก็บผลผลิต เดือนเมษายน – ตุลาคม โดยเกษตรกรจะเก็บเกี่ยว
ผลผลิตทุก 15-20 วัน ถ้าเกษตรกรเก็บพริกเขียว หรืออาทิตย์ละครั้งถ้าเกษตรกรเก็บพริกแดง เกษตรกรร้อยละ
69.4 จะเก็บพริกเขียว ร้อยละ 21.9 เก็บพริกแดง และร้อยละ 8.8 เก็บพริกเขียวแดงและสีอื่นๆ
8. ไถต้นพริกทิ้ง และปลูกข้าวโพด หรือผักชนิดต่างๆ เช่น กวางตุ้ง คื่นไช่
9. เริ่มกิจกรรมในฤดูกาลผลิตต่อไป
3) การจัดการผลผลิตพริก
จากการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรทุกรายขายผลผลิตในรูปแบบ
พริกสดเขียวหรือแดง โดยไม่มีการแปรรูป ซึ่งจะมีผู้รวบรวมผลผลิตพริกเข้ามารับซื้อที่แปลงปลูกหรือใน
หมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกร โดยไม่มีการคัดเกรด/คุณภาพ
4) ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และรายได้ของเกษตรกร
ผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้เป็นปัจจัยสําคัญที่เกษตรกรใช้ในการตัดสินใจว่าจะยังคงทําการผลิตต่อ
หรือเปลี่ยนไปทํากิจกรรมการผลิตอื่น เมื่อเปรียบเทียบผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้ของเกษตรกรทั้ง 2
กลุ่มพบว่า ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP สูงกว่ากลุ่ม GAP ประมาณร้อยละ 15.28 (3,212.81
และ 2,721.89 บาท) แต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับตํ่ากว่ากลุ่ม Non-GAP ประมาณ
ร้อยละ 15.60 (29,181.38 และ 34,578.19 บาท) โดยมีค่าปุ๋ ย สารเคมี ตํ่ากว่า กลุ่ม Non-GAP ถึงร้อยละ 7.43
(15,666.99 และ 11,640.84 บาท) เปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ของเกษตรกร 2 กลุ่ม ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4-2
แม้ว่ารายได้ต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP จะสูงกว่ากลุ่ม GAP ประมาณ ร้อยละ 8.91 (40,129.45 และ
36,553.07 บาท)
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูที่รายได้สุทธิแล้วเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงกว่า
เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ถึง ร้อยละ 32.79 เป็นที่น่าสังเกตว่าเกษตรกรกลุ่ม GAP มีต้นทุนค่าแรงในการฉีด
สารเคมีสูงกว่าเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ถึงร้อยละ 59.4 (2,805.90 และ 1,759 บาท) ซึ่งอาจบ่งชี้ให้เห็นถึง
ทัศนคติของเกษตรกรกลุ่ม GAP ต่อความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง และการหันมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น ซึ่ง
แม้ว่าประสิทธิจะสู้สารเคมีไม่ได้ ทําให้ต้องเพิ่มความถี่ในการฉีดมากกว่าสารเคมี เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิต
ของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ค่าจ้างเก็บพริก และค่าปุ๋ ย สารเคมีเป็นต้นทุนสูงมาก และมีค่าใกล้เคียงกัน
(ร้อยละ 47.0 และร้อยละ 42.1 กับร้อยละ 39.9 และ 55.3) (ตารางที่ 4-3 แผนภูมิที่ 4-2 และแผนภูมิที่ 4-3)