Page 62 -
P. 62

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             41



                    จากการศึกษา สภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิต การจัดการผลผลิต พริก ของเกษตรกรทั้งกลุ่มผู้ผลิต

             พริกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต ( Q) ซึ่งผลิตตามระบบ GAP (กลุ่ม GAP) และกลุ่มเกษตรกรที่ผลิต
             พริกแบบทั่วไป (กลุ่ม Non-GAP) ในการศึกษาเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มจาก กลุ่ม  GAP จํานวน 64

             ราย และกลุ่ม Non-GAP จํานวน 108 คน ผลการศึกษา ดังนี้

                    4.1.1 ข้อมูลทั่วไป


              จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทั้งผู้ผลิตพริกในระบบ     GAP  และผู้ที่ไม่ได้ผลิตพริกใน

             ระบบ GAP  สัดส่วนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกในระบบ  GAP  ทั้ง 2 เพศ แตกต่างกันไม่มากนัก (ชาย ร้อยละ

             46.9 หญิง ร้อยละ 53.1) ในกลุ่มของเกษตรกรผู้ไม่ได้ผลิตพริกในระบบ GAP เพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 3
             เท่า (หญิง ร้อยละ 75.0 ชาย ร้อยละ 25.0) แม้ว่าเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม จะมีอายุเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (กลุ่ม  GAP 51

             ปี กลุ่ม Non-GAP 48  ปี)  และอายุตํ่าสุดและสูงสุดใกล้เคียงกัน (18 ปี กับ 21 ปี และ 7 6 ปี กับ 73 ปี) แต่การ

             กระจายของช่วงอายุของทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกัน เกษตรกรกลุ่ม GAP ส่วนใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 80) มี
             อายุอยู่ในช่วง 41 -70 ปี ในขณะที่กลุ่ม Non-GAP (มากกว่าร้อยละ 80) มีอายุอยู่ในช่วง 31-60 ปี


              เมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษา จะเห็นว่า เกษตรกรทั้งกลุ่ม   GAP และกลุ่ม Non-GAP ส่วนใหญ่จบ
             การศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 75.0 และร้อยละ 91.6) แต่เกษตรกรกลุ่ม GAP มีผู้สําเร็จการศึกษาสูง

             กว่าระดับประถมศึกษาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่ม Non-GAP อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 14.1 และ ร้อยละ 3. 7) ซึ่ง

             อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพริกในระบบ GAP ได้ง่ายกว่า

              นอกเหนือจากการได้รับความรู้ในระบบการศึกษาแล้ว กลุ่มหรือเครือข่ายของเกษตรกรเป็นช่องทาง

             หนึ่งที่มีความสําคัญอย่างยิ่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมทั้งความรู้เทคโนโลยี ปัญหาและการ

             แก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เมื่อพิจารณาถึงการเป็นสมาชิกกลุ่ม จะเห็นว่าเกษตรกรทั้ง 2
             กลุ่ม มีสัดส่วนของการเป็นสมาชิกกลุ่มแตกต่างกัน เกษตรกรกลุ่ม  GAP ประมาณสองในสาม (ร้อยละ 65.6)

             เป็นสมาชิกกกลุ่มอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในขณะที่เกษตรกรกลุ่ม  Non-GAP ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 54. 6) เป็น

             สมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 1 กลุ่ม นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ของเกษตรกรกลุ่ม  Non-GAP ที่เป็นสมาชิกกลุ่มมีสัดส่วน

             การเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเงิน (เช่น กองทุนหมู่บ้าน) สูงกว่ากลุ่ม  GAP อย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 79.7 เทียบ
             กับ ร้อยละ 69.1) เป็นที่น่าสังเกตว่าเกษตรกรกลุ่ม   GAP  มีสัดส่วนการเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร (เช่น

             กลุ่มหน่อไม้ฝรั่ง) สูงกว่าเกษตรกรกลุ่ม  Non-GAP  เกือบเท่าตัว (ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 8.5) ส่วนสัดส่วน

             ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มทั้งกลุ่มทางการเกษตรและกลุ่มทางการเงินของทั้งกลุ่ม  GAP และกลุ่ม Non-
             GAP มีค่าใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 14.3 และร้อยละ 11.9) เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้ง 2 กลุ่มไม่

             มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (ตารางที่ 4-1)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67