Page 64 -
P. 64
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
43
ในการผลิตทางการเกษตร ที่ดิน แรงงาน และความรู้/ประสบการณ์ของเกษตรกรเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญใน
การผลิต เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกษตรกรกลุ่ม GAP และกลุ่ม Non-GAP พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีพื้นที่
ทําการเกษตรทั้งหมด พื้นที่ปลูกพริก และพื้นที่ทํากิจกรรมเกษตรอื่นๆ และสัดส่วนของพื้นที่ปลูกพริกต่อ
พื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมดใกล้เคียงกัน พื้นที่ทั้งหมด 6.83 และ 6.33 ไร่ พื้นที่ปลูกพริก 2.57 และ 2.42 ไร่
พื้นที่ทํากิจกรรมเกษตรอื่นๆ 4.27 และ 3.91 ไร่ และสัดส่วนของพื้นที่ปลูกพริกต่อพื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมด
(ร้อยละ 37.46 และ 38.23) ตามลําดับ นอกจากนี้สัดส่วนของเกษตรกรที่เช่าที่ในการปลูกพริกของทั้ง 2 กลุ่มก็
ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 34.4 และ 37.0) จะเห็นว่าเกษตรกรกว่า 1 ใน 3 เช่าที่เพื่อการเพาะปลูกพริก การเช่าที่เพื่อ
ทําการผลิตทางการเกษตรจะเป็นปัญหาของเกษตรกรและของภาครัฐในระยะยาว
เกษตรกรกลุ่ม GAP มีประสบการณ์ในการปลูกพริกในระบบ GAP ประมาณ 2 ปีครึ่ง และมี
ประสบการณ์ในการปลูกพริกทั้งหมดนานกว่าเกษตรกลุ่ม Non-GAP เล็กน้อย (15 และ13 ปี) เกษตรกรกลุ่ม
GAP มีแรงงานเกษตกรในครัวเรือนเฉลี่ยใกล้เคียงกับเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ( 2.28 และ 2.06 คน) ซึ่ง
จํานวนแรงงานภายในครัวเรือนจะเป็นปัญหาอย่างมากในช่วงการเก็บผลผลิต (ตารางที่ 4-2
และแผนภูมิที่ 4-1)
ตารางที่ 4-2 เปรียบเทียบที่ดิน แรงงาน และประสบการณ์ในการปลูกพริกของเกษตรกร 2 กลุ่ม
เกษตรกร GAP เกษตรกร Non- GAP
2)
1)
ข้อมูล
Χ S.D. Χ S.D.
พื้นที่ทําการเกษตร (ไร่)
พื้นที่ทั้งหมด 6.86 5.46 6.33 7.63
พื้นที่ปลูกพริก 2.57 1.63 2.42 1.69
พื้นที่ทําการเกษตรอื่นๆ 4.27 5.09 3.91 7.04
สัดส่วนพื้นที่ปลูกพริก 37.46 % 38.23 %
เช่าพื้นที่ปลูก 22 ราย 40 ราย
34.4 % 37.0 %
ประสบการณ์ในการปลูกพริก (ปี) 14.71 13.06
ประสบการณ์ในการปลูกพริก GAP (ปี) 2.45 -
แรงงานเกษตรกรในครัวเรือน(คน) 2.28 2.06
1) n = 64
2) n = 108