Page 77 -
P. 77
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
56
(2.2) การไม่ยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย GAP
เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความรู้ในระบบการผลิตพริกปลอดภัย GAP ไม่เคยเข้า
รับการฝึกอบรม หรือบางคนพอจะทราบข้อมูลบ้าง แต่ไม่มีความเข้าใจในระบบการผลิต และคิดว่าการผลิต
แบบเดิมดีอยู่แล้ว โดยปลูกตามบรรพบุรุษ การปฏิบัติของเกษตรกรในกรณีพริกเป็นโรคโดยเกษตรกรจะฉีด
พ่นสารเคมี และจะเก็บเกี่ยวในวันรุ่งขึ้นถ้าผู้รวบรวมผลผลิตต้องการผลผลิตพริกเพื่อส่งขาย และเหตุผลที่
เกษตรกรไม่ยอมรับ ราคาขายปัจจุบันไม่แตกต่างกันระหว่างผลผลิตในและนอกระบบปลอดภัย เกษตรกรไม่
มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนระบบการผลิต ไม่มีเพื่อนบ้านทําเป็นตัวอย่าง หรือแปลงเกษตรกรตัวอย่าง การปลูก
แบบเดิมเป็นความเคยชินอยู่แล้ว เกษตรกรทําการผลิตหลายชนิดพืช ไม่ได้ทําพริกอย่างเดียว และคิดว่าการใช้
ระบบมาตรฐานความปลอดภัยเข้ามาจับมีความยุ่งยาก สําหรับเรื่องความปลอดภัยต่อตนเอง เกษตรกรเห็นว่า
การฉีดพ่นสารเคมีด้วยตนเองส่งผลต่อสุขภาพบ้างเหมือนกันแต่ไม่มากนัก (ภาพที่ 4-7)
ภาพที่ 4-7 เหตุผลการไม่ยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัยของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP
(2.3) ปัญหาการปลูกพริก
ในการปลูกพริกของเกษตรกรมีปัญหาโรคแมลง เช่น โรครากเน่า เมล็ดเน่า หนอนเด้ง หนอนคืบ
หนอนเจาะ ยอดหงิก เพลี้ย ยอดแดง เชื้อรา กุ้งแห้ง ยอดเน่า โคนเน่า รากไม่เดิน เกษตรกรประสบปัญหา ปุ๋ ย
แพง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งปั้มนํ้าบาดาล นํ้ามันแพง บางช่วงเกษตรกรเจอปัญหานํ้าท่วม สําหรับปัญหาด้าน
ดิน หน้าดินแน่น ดินเปรี้ยว ทําให้ไม่เหมาะสมในการปลูกพริก ต้องใช้ปุ๋ ยปริมาณมากขึ้น ราคาขายผลผลิต มีผู้
รวบรวมผลผลิตหลายคน ทําให้เกษตรกรเสียเปรียบเรื่องราคา (ภาพที่ 4-8)