Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
106
4.6 การเชื่อมโยงระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม
จากสภาวการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิตพริก ความรู้/เทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยของเกษตรกรใน
พื้นที่จังหวัดนครปฐม จะเห็นได้ว่าความต้องการของเกษตรกรในเรื่องรูปแบบและวิธีการถ่ายทอดความรู้/
เทคโนโลยีโดยการสํารวจและการสัมภาษณ์ VCD น่าจะเป็นรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่มีประสิทธิผลใน
อนาคต เกษตรกรสามารถเปิดดูได้ตามเวลาที่ต้องการและเข้าใจได้ง่ายกว่าการอ่านจากเอกสารเผยแพร่
เนื่องจากมีความเหมาะสมกับเงื่อนไขเวลาและระดับการศึกษาของเกษตรกร อีกทั้งปัจุบันราคาเครื่องเล่น
VCD อยู่ในระดับที่เกษตรกรซื้อหาได้และเกษตรกรในพื้นที่ศึกษามีเครื่องเล่น VCD เกือบทุกครัวเรือน จาก
องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ และรูปแบบในการรับความรู้ของเกษตรกร มีแนวทางในการเชื่อมโยงความรู้
สู่เกษตรกรโดยใช้ผลการวิจัยจากโครงการ ศึกษาและจัดทําต้นแบบคู่มือ และวีซีดี การผลิตผักคุณภาพ
คุณภาพตามระบบ GAP ภายใต้โครงการพัฒนาทางเลือกใหม่ในภาคเกษตร : การผลิตผักคุณภาพเพื่อการค้า
สําหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดนครปฐม เป็นสื่อประกอบในการถ่ายทอดความรู้ เพราะจากการวิจัย
พบว่าการใช้เอกสารคู่มือเป็นสื่อหลักสําหรับเกษตรกร และการใช้แผ่นภาพพลิก และวีซีดีเป็นสื่อเสริม ทําให้
เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตผักคุณภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องมีการปรับสื่อให้เหมาะสมตามชนิด
ของพืชผัก โดยร่วมกันผลิต VCD เรื่องการปลูกพริกระบบปลอดภัยซึ่งต้องทําการผลิตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ทั้งกระบวนการที่เกษตรกรสามารถศึกษาด้วยตนเองและนําไปปฏิบัติได้จริงโดยการสร้างสื่อให้ความรู้ระบบ
การผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม
สําหรับการฝึกอบรมควรจัดกิจกรรมในพื้นที่เนื่องจากเกษตรกรมีกิจกรรมในแปลงตลอดทั้งวัน การ
ปลีกตัวไปอบรมนอกพื้นที่ทําได้ยาก สถานที่ที่เหมาะสมควรจะเป็นศาลาประชาคมหมู่บ้าน บ้านผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกํานันหรือ อบต. หรือที่ที่เป็นจุดรวมคนในหมู่บ้าน โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมควรคัดเลือกจากเกษตรกร
ผู้นํา (Training the Trainer) เนื่องจากภาครัฐมีข้อจํากัดเรื่องงบประมาณ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่มี
ข้อจํากัดเรื่องเวลา ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเย็นประมาณ 18.00 น.เป็นต้นไป จะเป็นช่วงเดือนไหนก็
ได้ แต่ขอให้มีการนัดล่วงหน้าโดยหน่วยงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรจังหวัด เกษตรอําเภอหรือ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กําแพงแสน เกษตรกรผู้นําซึ่งผ่านการฝึกอบรมจะถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรราย
อื่นๆ อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามการคัดเลือกเกษตรกรผู้นํา จะต้องเลือกคนที่เป็นที่ยอมรับในหมู่เกษตรกร
ด้วยกัน และเป็นผู้ที่มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ส่วนผู้นําชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน กํานัน
หรือ อบต.) ควรทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดฝึกอบรมมากกว่าเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เนื่องจาก
เกษตรกรให้เหตุผลว่าผู้นําชุมชนมีภารกิจมากเกินไป และบางคนไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นอาจ
ไม่มีองค์ความรู้และ/หรือเวลาในการถ่ายทอดความรู้ต่อ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรมองว่าการฝึกอบรมรูป
แบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลดังเช่นที่เป็นมา เกษตรกรต้องการให้มีการสอนแบบลงมืปฏิบัติจริงโดยมีตัวอย่างของ
จริงให้ดูในพื้นที่ แบบศูนย์การศึกษาและพัฒนาของในหลวง โดยทําเป็นจุดเรียนรู้ครบวงจรทั้งกระบวนการ
ผลิต โดยให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมและมีนักวิชาการเกษตรประจําคอยเป็นพี่เลี้ยง จุดเรียนรู้ควรมีหมู่บ้าน