Page 124 -
P. 124
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
103
4.5.3 ภาครัฐ นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา)
แนวทางในการพัฒนาทั้งระบบ จะเห็นได้ว่าในพื้นที่จังหวัดนครปฐมมีสถาบันการศึกษา
ระดับอุดมศึกษาหลายแห่งด้วยกัน และมีนักวิชาการ/นักวิจัยได้ทํางานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการ
การผลิตเกษตรทั้งระบบ จึงจะต้องมีการผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ หรือการทํางานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา
ของเกษตรกร ร่วมกับเกษตรกร โดยเน้นการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต/ผู้บริโภค สู่ความยั่งยืนโดยจะต้องมี
ความเหมาะสมกับพื้นที่ แรงงานและทุนของเกษตรกร และเชื่อมโยงไปยังโอกาสทางการตลาด ทิศทางการ
ผลิตจะต้องปลอดภัยทั้งผลผลิตที่ส่งออกไปต่างประเทศและผลผลิตในประเทศ โดยถ่ายทอดความรู้/
เทคโนโลยีที่เกษตรกรต้องการ ด้านการผลิตในระบบปลอดภัย และการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อแก้ปัญหาในการ
ผลิตให้กับเกษตรกร เช่น ปัญหาปัจจุบันการผลิตพริกพันธุ์ super hot ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เอกชนพัฒนาขึ้น เป็นพันธุ์
ที่ตลาดต้องการ และเกษตรกรนิยมปลูก แต่เกษตรกรมีปัญหาการเป็นโรค เช่น โรค กุ้งแ ห้ง ซึ่งมี
สถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ กําลังศึกษา เพื่อพัฒนาพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานโรค และ
มีความเฉพาะตามตลาดต้องการคือ ก้านใหญ่ หนา เหี่ยวช้า และไม่ดํา
จากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดนครปฐม ในการพัฒนาการ
ผลิตเกษตรเพื่อการค้าในการจัดทําโครงการเพื่อแก้ปัญหาระบบการผลิต และการตลาดพืชผัก เพื่อการส่งออก
ผลผลิตพืชผักปลอดภัยของจังหวัดนครปฐมสู่ตลาดโลก สําหรับการผลิตพริกคุณภาพสู่การค้า สภา
อุตสาหกรรมให้ข้อมูลด้านการตลาด กลุ่มผู้ค้า/ตลาดในโครงการฯ สามารถ ประกันราคาพริก super hot ได้
มากกว่า ประมาณ 20 บาท /กิโลกรัม แต่เกษตกรจะต้องผลิตพริกที่มี คุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานและ
ปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกลุ่มบริษัทในโครงการฯ เพื่อแข่งขันกับตลาดโลก ผลผลิตสามารถ
ตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยจะต้องเข้าสู่ระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม ( GAP) หรือกระบวนการผลิตจะต้อง
ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ (Q) โดยเกษตรกรแต่ละรายไม่จําเป็นต้องผลิตในปริมาณมาก จะต้องมี
การวางแผนเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการตลาด เป็นการผลิตที่ปลอดภัย ในปริมาณที่เกษตรกรมีเงินทุน
มีแรงงานที่สามารถดูแลได้ โดยมีการรวมกลุ่มผู้ผลิต เพื่อร่วมกันวางแผนการผลิต ให้ได้ตามความต้องการ
ของตลาด โดยอ้างอิงตามข้อมูลการวิจัย เกษตรกรที่ผลิตตามระบบปลอดภัย ( GAP) มีการลงทุนน้อย และได้
กําไรสูงกว่า โดยมองที่ ช่องทางการตลาดก่อน ซึ่งกลุ่มผู้ส่งออกในโครงการฯ สามารถรับผลผลิตที่ผลิตตาม
ระบบปลอดภัย (GAP) ได้หมด โดยไม่ตัดส่วนที่ตกเกรด แต่จะหาช่องทางในการกระจายสินค้า เช่น ส่งให้กับ
ร้านอาหาร และในส่วนนี้ สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มีแนวทาง และกําลัง
ศึกษาช่องทางในการแปรรูป โดยส่งไปยังโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ห้างหุ้นส่วน
จํากัด นํ้าพริกแม่ศรี มีความต้องการวัตถุดิบที่ปลอดภัยในการผลิต แปรรูป นํ้าพริก และผลผลิตต่างๆ อยู่แล้ว
โดยบางส่วนใช้พริกสดในการแปรรูป และซื้อพริกสดไปทําแห้งเพื่อเก็บไว้ในช่วงที่ขาดแคลน และรับซื้อ
พริกแห้ง ซึ่งถ้าเกษตรกรสามารถผลิตให้ตรงกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปพริก ก็
สามารถตกลงกับเกษตรกรได้