Page 128 -
P. 128
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
107
ละ 1 แห่ง และที่ที่เหมาะสมน่าจะเป็นแปลงของผู้ใหญ่บ้าน/กํานัน เพราะเป็นจุดที่เกษตรกรไปรวมตัวกันอยู่
แล้ว
วิทยุกระจายเสียงและหอกระจายข่าวกําลังจะเป็นช่องทางที่ล้าสมัยในเขตจังหวัดนครปฐมเนื่องจาก
เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องรับวิทยุแต่ยังคงดูโทรทัศน์ ซึ่งปัจุบันรายการทางการเกษตรน้อยลง และเวลาที่
ออกอากาศก็ไม่สอดคล้องกับเวลาที่เกษตรกรดู ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงบอกว่าสื่อวีซีดีน่าจะเป็นช่องทาง
ที่ดีกว่าอีกช่องทางหนึ่งในการได้รับความรู้ เนื่องจากเกษตรกรสามารถกําหนดเวลาดูเองได้
องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการควรเน้นองค์ความรู้ที่แก้ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ ปัญหาโรคแมลง
โดยโรคควรเน้นการป้ องกันกําจัดโรคกุ้งแห้ง เตาเผา ยืนต้นตาย ต้นโกร๋น แมลงเน้นเพลี้ยไฟ ไรขาว เพลี้ย
อ่อน โดยเฉพาะการใช้สารเคมีในการกําจัดแมลง ว่าสารเคมีตัวใดอนุญาตให้ใช้ และตัวใดที่ห้ามไม่ให้ใช้
เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ยังมีการใช้สารเคมีที่ต้องห้าม เช่น อะบาเมกติน ซึ่งยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายใน
หมู่เกษตรกร เนื่องจากการควบคุมตรวจสอบของหน่วยงานภาครัฐยังไม่ทั่วถึง และยังไม่มีสารเคมีตัวอื่นที่มี
ประสิทธิภาพดีกว่าและปลอดภัยกว่าเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในระบบ GAP กับเกษตรกรผู้ปลูกพริก
ทั่วไป พบว่าการปลูกพริกในระบบ GAP มีรายได้สุทธิสูงกว่าถึงร้อยละ 33 แสดงว่าเกษตรมีความรู้ในระดับ
หนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดีพบว่ายังมีมาตรฐานหลายข้อในทุกหมวดของมาตรฐานการผลิตพริกปลอดภัยที่ยังคงต้อง
เร่งให้ความรู้เพิ่มเติมกับเกษตรกร โดยเฉพาะการปฺฏิบัติและการจดบันทึก แนวทางในการจัดการเชื่อมโยง
ความรู้และการสื่อสารความรู้ระบบการผลิตพริกปลอดภัย จังหวัดนครปฐม (ตารางที่ 4-29) (ภาพที่ 4-16)