Page 125 -
P. 125
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
104
จะเห็นได้ว่าเกษตรกรมีช่องทางในการขายผลผลิต เพราะบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความ
หลากหลาย เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มเพื่อทําข้อตกลงกับกลุ่มบริษัทได้ โดยบริษัทจะทําสัญญากับกลุ่ม
เกษตรกรเท่านั้น ไม่ทําสัญญาเป็นรายบุคคล เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มได้ประมาณ 20 ราย โดยเกษตรกร
ผลิตตามความต้องการของตลาด และตลาดจะให้ราคาที่เกษตรกรมีความคุ้มทุน โดยให้ราคาดีกว่าที่เกษตรกร
ได้รับในปัจจุบันถึง 2 เท่า โดยโครงการฯ นี้ จะเริ่มและให้เกษตรกรเข้าร่วมทําสัญญาได้ เร็วๆ นี้ (กรกฏาคม
2552 เป็นต้นไป)
4.5.4 แนวทางความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
จากการร่วมเสวนาของทุกภาคส่วน มีความเห็นร่วมกันถึง ความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน ในการ
พัฒนาระบบการผลิตพริก จังหวัดนครปฐม ดังนี้
เกษตรกร จะต้องผลิตพริกระบบปลอดภัยโดยเริ่มจากกลุ่มเกษตรกรที่มี ความต้องการ ตรงกัน
รวมกลุ่มในการผลิต ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนการผลิต โดยมีภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมส่งเสริม
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร สวพ.5 นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ร่วมสนับสนุนในการ
ให้ความรู้ และการรับรองระบบการผลิตของกลุ่มเกษตรกร สําหรับการจัดการด้านผลผลิตพริก จากการศึกษา
กลุ่มผู้บริโภคจะเห็นได้ว่าจากผลการวิจัยข้างต้น กลุ่มผู้บริโภคในประเทศยัง คํานึงราคามากกว่าความ
ปลอดภัย หรือยังไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัย แต่สําหรับการส่งผลผลิตไปยังต่างประเทศ ข้อมูลจาก
บริษัท/ตลาดส่งออก พบว่าผล ผลิตที่ส่งออกจะต้องผลิตภายใต้ระบบที่ ปลอดภัย จึงสามารถแข่งขันใน
ตลาดโลกได้ ดังนั้นในการพัฒนาด้านการตลาดจึงจําเป็นต้องเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิต และภาคตลาด/
เอกชน เพื่อพัฒนาผลผลิตพริกให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด สําหรับตลาดภายในประเทศเอง มี
กลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา ที่มีความตระหนักในการบริโภคผลผลิตพืชผักที่
ปลอดภัย และในอนาคตคาดการณ์ว่าผู้บริโภคทั่วไปจะมีความต้องการผลผลิตที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่าง
แน่นอน (ภาพที่ 4-15)