Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
101
4.5.2 ภาคการตลาด ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก
สภาวการณ์ด้านการตลาด กลุ่มผู้ค้า/ตลาดในพื้นที่จังหวัดนครปฐมมีความเห็นว่าตลาดพริกสามารถ
ประกันราคาได้ ประมาณ 20 บาท /กิโลกรัม จะต้องเป็นผลผลิตพริกที่ได้ คุณภาพและมีความปลอดภัย โดย
จะต้องทําสัญญาร่วมกัน เกษตรกรจะต้องไม่ขายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมผลผลิตรายอื่นที่ให้ราคาสูงกว่า
ในช่วงที่ผลผลิตพริกได้ราคาสูง และเกษตรกรจะต้องสามารถผลิตให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามความ
ต้องการของตลาด โดยวางแผนการผลิตร่วมระหว่างกลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มผู้ค้า/ตลาด โดยที่ผ่านมาเกษตรกร
กลุ่มที่ขายให้กับบริษัทบางกลุ่มขายให้กับพ่อค้า แม่ค้า รายอื่นในช่วงที่ให้ราคาดีกว่า ทําให้บริษัทได้รับความ
เสียหาย เนื่องจากมีการตกลงทางการค้าไว้ล่วงหน้า และไม่สามารถหาผลผลิตส่งให้ยังกลุ่มผู้ค้า/ตลาด
ปลายทางตามแผนได้
ปัจจุบันการในการทําการค้าสําหรับกลุ่มพ่อค้า/ตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีความยุ่งยาก ลําบาก
มากขึ้น เนื่องจากตลาดปลายทางเป็นผู้กําหนดราคา ผู้ค้าจะต้องส่งผลผลิตให้ตลาดปลายทางก่อน จึงจะมีการ
กําหนดราคา ทําให้มีความเสี่ยงในการขาดทุน และเสี่ยงต่อความคุ้มทุนของการค้ามากขึ้น ในการทําการค้าจึง
มีความจําเป็นต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหวของราคา จึงจะกําหนดราคาผลผลิตเกษตรกร หรือยังไม่กําหนด
ราคาผลผลิตของเกษตรกร ทําให้เกษตรกรเองขาดความมั่นใจ เช่น ตลาดปฐมมงคล ปัจจุบัน ปริมาณการค้าส่ง
ผลผลิตพริกน้อยละ คงเหลือเพียงวันละประมาณ 1 ตัน
แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดซึ่งเป็นโครงการของจังหวัดนครปฐม เป็นความร่วมมือกันระหว่าง
สภาอุตสาหากรรม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด โดยมีกลุ่มบริษัทที่ให้ความร่วมมือเข้าร่วม
โครงการประมาณ 10 บริษัท เพื่อสร้างมาตรฐานในการส่งออกผลผลิตพืชผักปลอดภัย มีช่องทางการตลาดทั้ง
ยุโรปและเอเชีย ถ้าเกษตรกรสามารถผลผลิตผลผลิตคุณภาพตามความต้องการของตลาด ราคาผลผลิตจะดีกว่า
เกษตรกรส่งแบบทั่วไป ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรไม่จําเป็นต้องผลิตพริกในปริมาณมาก แต่ผลิตแบบ
คุณภาพ ในปริมาณที่พอเหมาะ มีการจัดการที่ดี ทําให้เกษตรกรลงทุนน้อย และได้กําไรสูงกว่า มีช่องทางใน
การขายผลผลิตทั้งหมดโดยเชื่อมโยงกับโครงการฯ สามารถใช้พันธุ์เดิมที่เกษตรกรปลูก ผลผลิตของเกษตรกร
ที่ผลิตได้คุณภาพสามารถส่งขายให้กับโครงการฯ ได้ทั้งหมด ผลผลิตที่ได้ขนาดและคุณภาพจะถูกบริษัท
ส่งออกไปยังต่างประเทศ ส่วนผลผลิตไม่ได้ขนาด(ตกเกรด) จะเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีหน่วยงาน
มกอช. กําลังศึกษา และทางภาคอุตสาหกรรมให้ความร่วมมือในการรับผลผลิตเพื่อแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
ต่อไป (ภาพที่ 4-14)