Page 118 -
P. 118
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
97
มกอช. มีหน้าที่ในการดูแลทั้งระบบ ห่วงโซ่ ตั้งแต่การผลิต การจัดการผลผลิต การตลาด โดยจะเป็น
ผู้ศึกษาและร่วมกําหนดหลักเกณฑ์ สร้างเครื่องมือต่างๆ ให้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ เพื่อพัฒนาทั้งระบบ
การเกษตร โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่จากกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ให้ความรู้กับเกษตรกรใน
การเข้าสู่ระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม หรือการผลิตในระบบปลอดภัย ให้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง และตาม
ขั้นตอน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นโดย มกอช. โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งกรมวิชาการ
เกษตรเป็นหน่วยงานผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้กับเกษตรกร
ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา มาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ตอบสนองสําหรับ
บริษัทที่ค้าขายให้กับประเทศในกลุ่มยุโรป EU เนื่องจากมีมาตรฐานของประเทศคู่ค้าสูงกว่าที่กําหนดโดยกา
ระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน จึงมีการรวมตัวกันเพื่อ กําหนดมาตรฐานเอกชน ThaiGAP เพื่อให้
สามารถส่งออกสินค้าเกษตรให้กับบริษัทคู่ค้าได้ โดยมีข้อกําหนดเพิ่มเติมจาก Q GAP ในด้าน 1) การคํานึงถึง
สิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและ 2) การคํานึงถึง สวัสดิภาพของคนงาน แรงงาน โดยการ
ขับเคลื่อนมาตรฐาน ThaiGAP จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากผู้ตรวจประเมินแปลงจะ ต้องเป็นคนจากกลุ่ม
EU หรือต้องสร้างกลุ่มผู้ตรวจประเมินโดยจัดการให้ความรู้การสร้างผู้ตรวจประเมินในประเทศ ไทย เป็นคน
ตรวจรับรอง
สําหรับการรับรองแปลงในปัจจุบัน มี จุดอ่อนของการตรวจสอบ ดังนี้ การตรวจสอบไม่มีกําลัง
เพียงพอ การตรวจสอบไม่ละเอียดพอ การจัดเตรียม เจ้าหน้าที่ ควรจัดหลักสูตร ในการให้ความรู้เจ้าหน้าที่
ตรวจสอบ และมี ที่ปรึกษาในตรวจสอบแปลง การตรวจรับรองควรมีการ จัดกลุ่มแปลงที่ตรวจสอบรับรอง
แล้ว เกษตรกรสามารถทําได้ในระดับไหน ควรรับรองเป็นระดับ และทบทวนในส่วน ที่ เกษตรกรไม่สามารถ
ทําได้ เป็นเพราะเหตุใด มาตรฐานการผลิตในทางปฏิบัติอาจไม่เป็นไปตามที่กําหนดและเงื่อนไข จะต้องมีการ
พิจารณา โดย ต้องศึกษาทั้งระบบ การตรวจรับรอง เกษตรกรรายย่อย รับรองกลุ่มเกษตรกร ผลิตเพื่อขาย
ภายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการรายย่อย และรายใหญ่ การจัดทําคู่มือเพื่อให้มีความเข้าใจ
ร่วมกันทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และ มกอช.
จากการทํางานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มกอช. จะเป็นผู้กําหนดมาตรฐาน (Q GAP) เป็นราย
พืช และรับรอง (Certification Body, CB) หน่วยตรวจรับรองมาตรฐานของเอกชน (Accredetation Body, AB)
กรมส่งเสริมการเกษตรจะมีหน้าที่ในการให้ความรู้เกษตรกร และการ เตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรที่เข้า
สู่ระบบ GAP และกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ตรวจประเมินแปลงเกษตรกร และออกใบรับรองหากเกษตรกร
สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน ซึ่งมีความจําเป็นสําหรับเกษตรกรจะต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื่องจาก มี
พระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ซึ่งมี มาตรฐานบังคับ การส่งออกและนําเข้า สินค้าเกษตร
และมีพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความ
เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ให้ ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้อง เอาผิดกับผู้ผลิตได้ทั้งทาง
แพ่งและทางอาญา ทําให้เกษตรกรต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของผลผลิตเกษตรและรับผิดชอบต่อสังคม
มากขึ้น การผลิตพริกปลอดภัยจึงมีความจําเป็นมากขึ้น