Page 120 -
P. 120
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
99
4.5 ผลประชาพิจารณ์การผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม
จากผลการวิจัย ระบบการผลิตพริก ผู้บริโภค การตลาด การส่งออก และภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาการผลิตพริกปลอดภัย ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อความถูกต้อง และความ
เที่ยงตรงของข้อมูลวิจัย จึงได้มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ผลงานวิจัย เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วม
วิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะ ผลการเสวนาเวทีประชาพิจารณ์ สรุปดังได้นี้
4.5.1 ภาคการผลิต/เกษตรกร
เกษตรกรจากตําบลบ้านยาง อําเภอเมือง ตําบลหนองกระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน ส่วนใหญ่ปลูกพริก
พันธุ์ จินดา และ พันธุ์ Super hot ปัญหาที่เกษตรกรประสบ คือ ราคาผลผลิตพริกตกตํ่า และราคาไม่แน่นอน
ราคาขึ้นอยู่กับตลาด เกษตรกรจึงมีความต้องการ ให้ราคาพริกอยู่ในระดับที่เกษตรกรสามารถผลิตได้อย่างคุ้ม
ทุน โดยมีการประกันราคา ในราคาที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของเกษตรกร คือ พริกจินดา และ Super
hot ประมาณ 20-25 บาท/กิโลกรัม
ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตพริกส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการผลิตพริกตามระบบปลอดภัย ( GAP)
เกษตรกรต้องการความรู้ในการปลูกพริกระบบปลอดภัย การรวมกลุ่ม และการดูแล การติดตามอย่างใกล้ชิด
จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จากกรมวิชาการเกษตร
สภาวการณ์ปัจจุบันของเกษตรกร เกษตรกรหลายรายมีความต้องการในการรวมกลุ่ม เพื่อผลิตพริก
แต่การรวมกลุ่ม และสร้างกลุ่มให้มีความเข้มแข็งเป็นเรื่องยากสําหรับเกษตรกร โดยส่วนใหญ่เกษตรกรแต่ละ
รายจะมีการติดต่อกับพ่อค้า/ตลาดเดิม และการซื้อปัจจัยการผลิตจากแหล่งเดิมอยู่แล้ว การวางแผนร่วมกันใน
การผลิตของเกษตรกรในกลุ่ม โดยจะต้องมีการร่วมวางแผนกับตลาด/ผู้รับซื้อ ในการรวมกลุ่มของเกษตรกรมี
กลุ่มกําแพงแสนที่มีการรวมกลุ่มในการผลิตและส่งผักให้กับบริษัทส่งออกอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มหนองกระทุ่ม
และกลุ่มบ้านยาง ยังไม่มีการรวมกลุ่มและทํากิจกรรมอย่างชัดเจน จากการมีกิจกรรมร่วมกันของเกษตรกรใน
โครงการวิจัยนี้ ทําให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีกันมากขึ้น ทําให้เกษตรกรมีความต้องการในการ
สร้างกลุ่มให้มีความเข็มแข็ง และจากข้อมูลจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งด้านราคา และการมีโครงการ
เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและตลาด ทําให้เกษตรกรมีความสนใจในการรวมกลุ่ม แต่การพัฒนาโดยใช้ระบบ
กลุ่มให้ประสบความสําเร็จจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะการผลักดันจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
การเกษตรในพื้นที่ (ภาพที่ 4-13)