Page 114 -
P. 114

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             93



             นอร์เวย์ อังกฤษ และเยอรมัน โดย หจก.ชัชวาลฯ จะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยมีแปลงปลูกเป็นของ

             ตนเอง และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระบบ  GAP โดยจะมีการตัด
             แต่งและบรรจุภัณฑ์พืชผัก ซึ่งจะมีพริกเป็นส่วนหนึ่งของ package ผลผลิตพริกที่ส่งออก ได้แก่ พริกแดงซึ่งมา

             จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พริกพันธุ์ super hot ซึ่งมีผิวตึง สีสันสวยงาม รูปร่างไม่หงิกงอ พริกพันธุ์แดง

             บางลี่สุพรรณบุรี จะมีสีแดงเข้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พริกพันธุ์ super hot ของจังหวัดนครปฐม เพราะเมื่อจัดวาง
             บรรจุภัณฑ์แล้วจะมีรูปร่างและสีสันสวยงามกว่า


                    สําหรับมาตรฐานความปลอดภัย ห.จ.ก. ชัชวาลฯ มีการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยผลผลิต

             ผัก/พริก ก่อนบรรจุหีบห่อส่ง 3 อย่าง คือ  1) ทางกายภาพ เช่น รูปร่าง ขนาดของเม็ดพริก 2) การตรวจสารเคมี
             หรือสารพิษตกค้างในผลผลิตพริก และ 3) การตรวจเชื้อโรค โดย หจก.ชัชวาลฯ มีห้องปฏิบัติการ ( LAB)  ที่

             ผ่านมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพราะตลาดคู่ค้ามีความต้องการผลผลิตผัก/พริกที่มีคุณภาพสูงมาก จึงจําเป็น

             จะต้องมีการตรวจตามระบบมาตรฐานสากลอย่างเข้มงวด นอกเหนือจากการรับซื้อผลผลิตพริกปลอดภัยจาก

             แปลงเกษตรกร

                    บริษัทสวิฟท์ จํากัด เป็นบริษัทส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ผัก และส่งออกผลผลิตพริก โดยส่งไป

             ยังประเทศในเอเซีย ยุโรป ในรูปแบบของพริกสด ในชุดพร้อมปรุง เช่น เครื่องต้มยํา ผลผลิตพริกที่ใช้แม้จะมี
             ปริมาณไม่มากนัก แต่ต้องการผลผลิตคุณภาพดี ปัญหาเกิดจากการที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตพริกคุณภาพดี

             ส่งให้ได้ตามความต้องการ ทําให้บริษัทต้องหาพื้นที่ในการผลิตพริกเอง เช่น ที่จังหวัดสระแก้ว  กาญจนบุรี

             และทางภาคเหนือ เพื่อผลิตแบบไม่ใช้สารเคมีส่งผลผลิตขายต่างประเทศ และเห็นว่าเกษตรกรผู้ผลิตพริก
             จังหวัดนครปฐมไม่สามารถผลิตให้ตามความต้องการของบริษัทได้ เนื่องจากเกษตรกรมีทางเลือกในการผลิต

             และสามารถการส่งขายผลผลิตปริมาณมากๆ สู่ตลาดได้ จึงทําให้ไม่สนใจที่จะหันมาผลิตในระบบปลอดภัย


                    ปัญหาสําคัญของผู้ส่งออกมาจากเกษตรกรไม่สามารถผลิตผลผลิตคุณภาพส่งให้กับผู้ส่งออก เนื่อง
             ด้วยปัญหาในการได้รับใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของเกษตรกรมีความล่าช้า ซึ่งในบางครั้งเกษตรกร

             ส่งผลผลิตขายแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัย กระบวนการในการประกาศยกเลิก

             สารเคมีที่ห้ามใช้ในประเทศคู่ค้าของหน่วยงานภาครัฐมีความล่าช้า ทําให้เกิดปัญหาในการส่งออกผลผลิต
             และเกษตรกรเองยังขาดความรู้เรื่องการผลิตพริกระบบปลอดภัย   GAP  ผู้ส่งออกมีความต้องการผลผลิต

             ปริมาณมาก เนื่องจากมีการสั่งซื้อปริมาณมากแต่ปริมาณผลผลิตพริกที่ผลิตในระบบปลอดภัยมีไม่เพียงพอกับ

             ความต้องการของคู่ค้า ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรจะมีมาตรฐานในการค้าที่มีความเข้มงวดของ

             มาตรฐานแตกต่างกัน เช่น กลุ่มประเทศยุโรป(EU) ผลผลิตจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ส่วนประเทศ
             ทางเอเชียมีมาตฐานความปลอดภัยตํ่ากว่า แต่ต้องเป็นสินค้าคุณภาพเช่นกัน ปัญหาที่ พบในการค้ากับ

             ต่างประเทศ มีดังนี้

                    1.  กระบวนการในการผลิตพริกปลอดภัย เกษตรกรมีความรู้เรื่องการผลิตพริกปลอดภัยน้อย และ

             เกษตรกรไทยมีมาตรฐานการผลิตเกษตร 2 มาตรฐาน (Double Standards) คือ มาตรฐานสําหรับส่งผลผลิตไป
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119