Page 109 -
P. 109
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
88
4.4 เส้นทางผลผลิตและตลาดพริกจังหวัดนครปฐม
จากการศึกษาถึงเส้นทางผลผลิตพริกที่เกษตรกรผลิตสู่ตลาด มาตรฐานของผลผลิตพริกที่ตลาด
ต้องการ โดยศึกษาจากผู้รวบรวมผลผลิตพริกในหมู่บ้าน/ตําบล ผู้ค้า ผู้รวบรวมผลผลิตในตลาด บริษัทส่งออก
การแปรรูปผลผลิตพริก และตลาดที่เป็นเส้นทางพริกนครปฐม ผลการศึกษา ดังนี้
4.4.1 การรวบรวมผลผลิตพริกจากเกษตรกร
เกษตรกรผู้ผลิตพริกในจังหวัดนครปฐมส่วนใหญ่ปลูกพริกพันธุ์จินดา มีการส่งผลผลิตขายใน 2
ลักษณะตามความต้องการของตลาด คือ เกษตรกรกลุ่มอําเภอกําแพงแสนส่งผลผลิตพริกจินดาเก็บแดง ส่วน
เกษตรกรกลุ่มอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ส่งผลผลิตพริกจินดาเก็บเขียวจําหน่าย ซึ่งมีเส้นทางผลผลิตพริก
แต่ละชนิด ดังนี้
1) ผลผลิตพริกแดง
จากการศึกษาพบว่าพริกพันธุ์จินดาเก็บแดงปลูกมากในกลุ่มเกษตรกร หมู่ 5 และหมู่ 7 ตําบลหนอง
กระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน โดยจะมีผู้รวบรวบรวมผลผลิตในหมู่บ้าน/ตําบลมารวบรวมและรับซื้อผลผลิตที่
บ้าน/หมู่บ้านของเกษตรกร โดยผู้รวบรวมผลผลิตจะส่งพริกจินดาเก็บแดงให้กับตลาดสี่มุมเมือง
อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี
พริกจินดาเก็บแดง หมู่ 5, 7
ต.หนองกระทุ่ม อ.กําแพงแสน
ผู้รวบรวมผลผลิตในหมู่บ้าน/ตําบล
ตลาดสี่มุมเมือง
ภาพที่ 4-9 เส้นทางผลผลิตพริกพันธุ์จินดาเก็บแดง
2) ผลผลิตพริกเขียว
เกษตรกรตําบลบ้านยาง อําเภอเมือง ส่วนใหญ่ปลูกพริกจินดาเก็บเขียว โดยจะมีผู้รวบรวมผลผลิตทั้ง
ในหมู่บ้านและต่างถิ่นมารับซื้อในหมู่บ้าน เป็นระบบลูกไร่ (เช่นผู้รวบรวมผลผลิตในหมู่ 6 ตําบลบ้านยาง มี
ลูกไร่ และเกษตรกรรายอื่นๆ โดยผู้รวบรวมผลผลิตจะให้ราคาลูกไร่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไปเล็กน้อย) ผู้
รวบรวมผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งพริกไปยังผู้รวบรวมผลผลิตรายใหญ่ในตลาดทุ่งพระเมรุและตลาดปฐมมงคล
จังหวัดนครปฐม และตลาดศรีเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งตลาดรวบรวมผลผลิตเหล่านี้จะมีพริกจากทางภาคเหนือ