Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
89
และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มายังตลาดเช่นกัน พริกที่เข้าสู่ตลาดจะผ่านกระบวนการจัดการ เช่น ทํา
ความสะอาด เป่าแยกเศษใบ วัสดุที่ปนมา หรือมีการเด็ดขั้วเพื่อส่งให้กับโรงงานแปรรูปเป็นนํ้าพริก นํ้าจิ้ม
ซอสพริก จากนั้นผลผลิตพริกจะถูกส่งไปยังตลาดหัวอิฐ อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือส่งไปยัง
ตลาดหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย และมีผลผลิตพริกบางส่วนส่งออกไปยัง
ประเทศสิงคโปร์
พริกเขียวตําบลบ้านยาง
ผู้รวบรวมผลผลิตในหมู่บ้าน
พริกเหนือ พริกตะวันออกเฉียงเหนือ
ตลาดทุ่งพระเมรุ ตลาดปฐมมงคล
ตลาดศรีเมือง
ตลาดนครศรีธรรมราช/ ประเทศสิงคโปร์
หาดใหญ่ สงขลา
ประเทศมาเลเซีย
ภาพที่ 4-10 เส้นทางผลผลิตพริกพันธุ์จินดาเก็บเขียว
3) ผู้รวบรวมผลผลิตพริกในหมู่บ้าน/ตําบล
จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รวบรวมผลผลิตพริกจังหวัดนครปฐมในหมู่บ้าน 2 ราย พบว่า รายแรกเริ่มรับ
ซื้อพริกอย่างเดียว เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ส่วนใหญ่รับซื้อพริกพันธุ์จินดา โดยจะรับซื้อเฉพาะพริกแดง
ซึ่งเกษตรกรจะเก็บทุกๆ 5 วัน ผู้รวบรวมผลผลิตพริกจะเข้าไปรวบรวมผลผลิตพริกในช่วงเช้า และส่งพริกไป
ตลาดสี่มุมเมือง ปทุมธานี (เฮียปิ๊ด) ในช่วงประมาณบ่ายโมง ซึ่งผลผลิตพริกจะถูกส่งลงภาคใต้ และส่งต่อไป
ยังประเทศมาเลเซีย สําหรับพริกที่เด็ดขั้วแปรรูปจะส่งโรงงานซอสพริกและปากคลองตลาด โดยผู้รวบรวม
ผลผลิตจะส่งพริกไปยังตลาดสี่มุมเมืองประมาณเที่ยวละ 1-1.5 ตัน/วัน เกือบทุกวัน ซึ่งพริกจินดาเก็บแดงใน
พื้นที่จะมีปริมาณมากในช่วง เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม โดยการส่งจะไม่มีการคัดเกรด ขนาดบรรจุ ถุงละ
10 กิโลกรัม ราคา 300-400 บาท/ถุง ผู้รวบรวมผลผลิตจะได้กําไรกิโลกรัม ละ 3-5 บาท ผลผลิตพริกจินดาเก็บ
แดงจะมีแหล่งส่งที่ตลาดสี่มุมเมืองเพราะมีความต้องการพริกแดงสูง ในขณะที่ตลาดนครปฐมและตลาดศรี
เมืองรับผลผลิตพริกเขียวมากกว่า และจากการสัมภาษณ์ผู้รวบรวมผลผลิตผักและพริกรายที่ 2 ซึ่งรับซื้อ