Page 51 -
P. 51

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                        การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
                                                                                                        47

                   แสดงในตารางผนวกที่ 4) และจะมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการเท่ากับ 29 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการปรับปรุง

                   ประสิทธิภาพตามแนวทางที่ 2 (ดังแสดงในตารางผนวกที่ 5)   ซึ่งน้อยกว่าระยะเวลาคืนทุนที่สามารถยอมรับได้ ที่
                   โรงงานกรณีศึกษาได้ก าหนดไว้ คือ 3 ปีหรือ 36 เดือน
                          จากการวิเคราะห์ความไวของการลงทุนซื้อเครื่องจักร เมื่อเปรียบเทียบกับการปรับปรุงประสิทธิภาพตาม
                   แนวทางที่ 1 (ดังแสดงในภาพที่ 6) พบว่า หากอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ชนิด Z ลดลงจากปัจจุบันมากกว่าหรือเท่ากับ

                   10% ต่อปีอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้การตัดสินใจลงทุนในโครงการของโรงงานกรณีศึกษาเปลี่ยนไป เนื่องจากการ
                   ลดลงของอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ชนิด  Z  ส่งผลให้ระยะเวลาคืนทุนของโครงการนานมากกว่า  3  ปี  และเมื่อ
                   เปรียบเทียบกับการปรับปรุงประสิทธิภาพตามแนวทางที่  2  (ดังแสดงในภาพที่  7)  พบว่า  หากอุปสงค์ของ
                   ผลิตภัณฑ์ชนิด Z ไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน หรือมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น  5% ต่อปี แต่อัตราคิดลดมีค่าสูงถึง
                   10% ต่อปี ทางโรงงานกรณีศึกษาอาจไม่ตัดสินใจซื้อเครื่องจักร เนื่องจากระยะเวลาคืนทุนของโครงการยาวนาน
                   มากกว่า 3 ปี ซึ่งเกินระยะเวลาที่โรงงานกรณีศึกษาได้ก าหนดไว้


                   2.  การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟ
                          ผลจากการจ าลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า  การจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วด้วยรูปแบบต่างๆ
                   จะมีผลต่ออัตราการท างานเฉลี่ยของทรัพยากรในขั้นตอนการคั่ว (ดังแสดงในภาพที่ 8) ดังนี้
                          1)  การจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วด้วยรูปแบบที่  1  ท าให้อัตราการท างานเฉลี่ยของพนักงานคั่วคนที่  2

                   และเครื่องคั่วที่ 2 มีค่าสูงกว่าของพนักงานคั่วคนที่ 1 และเครื่องคั่วที่ 1 อย่างเห็นได้ชัด   ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องคั่วที่
                   2 ถูกใช้ท าการคั่วผลิตภัณฑ์ชนิด  T ซึ่งมีปริมาณอุปสงค์สูงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิด  Z ที่ถูกคั่วโดยพนักงานคั่วคนที่  1
                   และเครื่องคั่วที่ 1
                          2)  การจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วด้วยรูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 3  ให้ผลเหมือนกัน กล่าวคือ อัตราการ
                   ท างานเฉลี่ยของเครื่องคั่วทั้งสองเครื่องและพนักงานควบคุมเครื่องทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกันและยังมีค่าค่อนข้างต่ า
                   (ประมาณ  40%) แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยรูปแบบการจัดล าดับงานบนเครื่องคั่ว

                   เหล่านี้จะท าให้เกิดการกระจายปริมาณงานมายังทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการคั่วได้อย่างสม่ าเสมอ  ท าให้
                   สามารถลดหรือป้องกันการเกิดการรอคอยของงานระหว่างการผลิตในขั้นตอนถัดไป  และยังท าให้ทรัพยากร
                   เหล่านี้สามารถรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีก
                          3)  การกระจายปริมาณงานอย่างสม่ าเสมอจากการจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วด้วยรูปแบบที่   2  และ

                   รูปแบบที่ 3  ท าให้อัตราการท างานเฉลี่ยของเครื่องคั่วที่ 2 มีค่าต่ ากว่าเครื่องคั่วที่ 1 เล็กน้อย  เนื่องจากเครื่องคั่วที่
                   2 มีก าลังการผลิตสูงกว่าเครื่องคั่วที่  1  ท าให้ใช้เวลาในการท างานน้อยกว่าเมื่อมีปริมาณวัตถุดิบที่ต้องท าการคั่ว
                   เท่ากัน
                          4)  ถ้าหากมีการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิด  Z เป็นจ านวนมาก การจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วด้วยรูปแบบที่  3
                   อาจท าให้โรงงานกรณีศึกษาท าการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิด T ได้ล่าช้ากว่าก าหนด จนท าให้ต้องมีการท างานล่วงเวลา
                   และยังท าให้พนักงานในส่วนขั้นตอนการบดผลิตภัณฑ์ชนิด  T ต้องรอคอยงานที่ต้องท าการบดเป็นระยะเวลานาน

                   ขึ้น












                                                ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56