Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้แบบจ าลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์และผังงานสายธารแห่ง
คุณค่าในโรงงานผลิตกาแฟแบบคั่วบดกรณีศึกษา
44
n เป็นอายุของโครงการการลงทุน
หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมากกว่าหรือเท่ากับศูนย์ แสดงว่า โครงการให้ผลประโยชน์แก่
เจ้าของโครงการมากกว่าหรือเท่ากับอัตราขั้นต่ าที่ก าหนดไว้ ดังนั้นจึงควรลงทุนในโครงการนั้นๆ
2) ระยะเวลาคืนทุน เมื่อปรับคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (Discounted payback period) คือ
ระยะเวลาที่กระแสเงินสดรับรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายไป ทั้งนี้ในกรณีของการเปรียบเทียบการลงทุนระหว่าง 2
ทางเลือก กระแสเงินสดรับรวมจะค านวณจากผลต่างของค่าใช้จ่ายหรือผลต่างของรายรับ (Difference in cash
flow) ระหว่างทางเลือกทั้งสองหลักในการพิจารณาตัดสินใจเลือกโครงการการลงทุนจะพิจารณาว่า โครงการที่มี
ระยะเวลาคืนทุนสั้นกว่าเป็นโครงการที่ดีกว่า โดยมีระยะเวลาคืนทุนเป้าหมาย (Target payback period) เป็น
เกณฑ์ในการตัดสินใจ นอกจากนี้ ได้ท าการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis) โดยมีปัจจัยผันแปร คือ อุป
สงค์รายปีของผลิตภัณฑ์ชนิด Z และอัตราคิดลด (Discounted rate, i) ซึ่งทดสอบการเปลี่ยนแปลงกรณีที่อุปสงค์
รายปีของผลิตภัณฑ์ชนิด Z ลดลง 20% จนถึงเพิ่มขึ้น 20% ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราคิดลดในช่วง 6%-
10% ต่อปี
4.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟ
ในงานวิจัยนี้จะท าการปรับปรุงประสิทธิภาพขั้นตอนการคั่วส าหรับผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด โดยการหา
วิธีการจัดล าดับงานบนเครื่องคั่วเมล็ดกาแฟที่เหมาะสม เพื่อให้สายการผลิตเกิดความสมดุล แต่ทั้งนี้ เครื่องคั่วของ
โรงงานกรณีศึกษามีก าลังการผลิตที่แตกต่างกัน โดยเครื่องคั่วเครื่องที่ 1 จะมีก าลังการผลิตที่น้อยกว่าเครื่องคั่ว
เครื่องที่ 2 ในงานวิจัยจึงพิจารณาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดล าดับงาน 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 ใช้เครื่องคั่วเครื่องที่ 1 ส าหรับการคั่วผลิตภัณฑ์ชนิด Z และเครื่องคั่วเครื่องที่ 2 ส าหรับการ
คั่วผลิตภัณฑ์ชนิด T โดยใช้งานแยกจากกันอย่างชัดเจน
รูปแบบที่ 2 มีรูปแบบการด าเนินงานเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 แต่เมื่อเครื่องคั่วเครื่องใดท าการคั่วแล้ว
เสร็จตามแผนการผลิตก่อนจะถูกน ามาใช้คั่วผลิตภัณฑ์อีกชนิดต่อ
รูปแบบที่ 3 ท าการคั่วผลิตภัณฑ์ชนิด Z ซึ่งมีปริมาณอุปสงค์เฉลี่ยน้อยกว่าบนเครื่องคั่วทั้งสองเครื่องให้
ครบตามแผนการผลิตก่อน จากนั้นจึงท าการคั่วผลิตภัณฑ์ชนิด T บนเครื่องคั่วทั้งสองเครื่องต่อให้ครบตาม
แผนการผลิต
5. การสร้างผังงานสายธารแห่งคุณค่าของสายการผลิตที่ควรจะเป็นในอนาคตของโรงงานกรณีศึกษา
น าแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมที่สุดมาท าการสร้างเป็นผังงานสายธารแห่ง
คุณค่า (VSM) ของสายการผลิตโรงงานกรณีศึกษาในอนาคต โดยท าการระบุแนวทางและผลจากการปรับปรุง
ประสิทธิภาพการผลิตลงใน VSM ของสถานะอนาคตดังกล่าว
ปรารถนา ปรารถนาดี, จิรชัย พุทธกุลสมศิริ, วรรณวิภา เศรณีวิจัยกิจการ และ ทีปพิพัฒน์ สุระพีพงษ์