Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
43
แนวทางที่ 3 การน าเครื่องยิงสี (Color sorting machine) เข้ามาใช้คัดแยกสิ่งแปลกปลอมแทนพนักงานในขั้นตอน
การคัดแยกสิ่งแปลกปลอมก่อนการคั่ว
ทดลองน าเครื่องยิงสี ซึ่งสามารถ คัดแยกสิ่งแปลกปลอม ออกจากเมล็ดกาแฟได้โดย อัตโนมัติและมี
ประสิทธิภาพการท างานสูงมาใช้แทนแรงงานคนผ่านแบบจ าลองสถานการณ์ที่สร้างขึ้น โดยจะใช้พนักงานควบคุม
การท างานของเครื่องจ านวน 2 คน
เนื่องจากเครื่องจักรมีก าลังการผลิตสูงมาก ดังนั้นในการวางแผนการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเมล็ด
กาแฟจึงก าหนดให้มีการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเมล็ดกาแฟสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้ได้วัตถุดิบส าหรับใช้
ในการผลิตแต่ละสัปดาห์ ซึ่งจะแตกต่างจากการด าเนินงานในปัจจุบันและการปรับปรุงประสิทธิภาพตามแนวทางที่
1 และแนวทางที่ 2 ที่จะท าการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเมล็ดกาแฟทุกวัน
การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน
เนื่องจากการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตโดยการเพิ่มก าลังการผลิตเพื่อแก้ไขจุดคอขวดที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะแนวทางที่ 3 ซึ่งมีการลงทุนซื้อเครื่องยิงสี จะส่งผลกระทบต่อแผนการเงินของโรงงานกรณีศึกษา ดังนั้น
ในงานวิจัยนี้จึงได้ท าการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนของโครงการ โดยค านวณงบกระแสเงินสดของ
โครงการที่อายุโครงการเท่ากับ 5 ปี ทั้งนี้จะพิจารณาเฉพาะเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายเท่านั้น เนื่องจากรายรับที่
เกิดขึ้นในแต่ละโครงการมีค่าเท่ากัน โดยเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายประกอบด้วย
1) เงินลงทุนซื้อเครื่องยิงสี ซึ่งเหมาะสมต่อการใช้งานของโรงงานกรณีศึกษา ราคาเครื่องละ 3,100,000 บาท
2) ค่าจ้างขั้นต่ าของพนักงาน มีค่าเท่ากับ 191 บาทต่อวัน อ้างอิงจากอัตราค่าแรงขั้นต่ าในท้องที่
กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
อัตราค่าจ้างขั้นต่ า ฉบับที่ 7 (กระทรวงแรงงาน, 2550) และให้อัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นคงที่ 2.4% ต่อปี
3) ค่าล่วงเวลาของพนักงาน มีค่าเท่ากับ 1.5 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ าต่อวัน
4) สวัสดิการพนักงาน ได้แก่ ประกันสังคม 5% ของเงินเดือน ชุดพนักงานมูลค่า 500 บาทต่อคนต่อปี และ
เงินพิเศษประจ าปี 2 เท่าของค่าจ้างต่อเดือน
5) ค่าไฟฟ้า โดยมีค่าประมาณ 2.3876 บาทต่อหน่วย อ้างอิงตามค่าพลังงานไฟฟ้าของกิจการขนาดกลาง
แบบอัตราปกติ (ฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า , 2549) และค่าไฟฟ้าผันแปร (F ) ในเดือนมิถุนายน-กันยายน พ.ศ.
T
2550 (ฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า, 2550) โดยก าหนดให้ค่าไฟฟ้ามีอัตราการเพิ่มขึ้นคงที่ 5% ต่อปี
6) ค่าบ ารุงรักษาเครื่องยิงสีรายปีเท่ากับ 10% ของราคาเครื่องจักร
จากนั้นประเมินโครงการการลงทุนจากการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของค่าใช้จ่ายและระยะเวลาคืนทุน เมื่อ
ปรับคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงิน ซึ่งสามารถค านวณได้ดังนี้
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value; NPV) คือ ผลต่างของมูลค่าปัจจุบันรวมของกระแสเงินสดที่
ได้รับจากการลงทุนกับมูลค่าปัจจุบันรวมของกระแสเงินสดที่จ่ายลงทุน
n
NPV CF t t CF (2)
0
t 1 1( ) k
โดย
CF เป็นกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีที่ t
t
k เป็นอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุน
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์