Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                               การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้แบบจ าลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์และผังงานสายธารแห่ง

                               คุณค่าในโรงงานผลิตกาแฟแบบคั่วบดกรณีศึกษา
               38

                       โรงงานกรณีศึกษาใช้เมล็ดกาแฟพันธุ์อราบิกาและพันธุ์โรบัสต้าในการผลิตสินค้า  เมล็ดกาแฟทั้งสองสาย

               พันธุ์จะถูกน ามาคัดขนาดโดยเครื่องคัดขนาด  จากนั้นจึงน ามาคัดแยกสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เศษไม้ หิน กรวด
               และเศษพลาสติก  ฯลฯ ออกด้วยแรงงานคน  จากนั้นจึงน ามาผสมตามสูตร และคั่วตามเวลาและอุณหภูมิที่ได้
               ก าหนด  ส าหรับผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบเมล็ด เมื่อท าการคั่วเสร็จแล้วเมล็ดกาแฟจะถูกคัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดย
               คร่าวอีกครั้งแล้วบรรจุถุงทันที  ส่วนผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบบด หลังจากการคั่ว เมล็ดกาแฟจะถูกน ามาคัดแยกสิ่ง

               แปลกปลอมโดยคร่าวอีกครั้งเช่นกัน  จากนั้นจะถูกน าไปบดโดยเครื่องบดก่อนน าไปบรรจุซองหรือถุงส าหรับ
               ผลิตภัณฑ์ชนิด Z   แต่ส าหรับผลิตภัณฑ์ชนิด T หลังจากบดแล้วจะต้องทิ้งไว้ 1 คืนก่อนน าไปบรรจุกระป๋องต่อไป

                                                        วิธีการ
                       งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่


               1.  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการหาลักษณะการแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูล
                       ในงานวิจัยนี้ได้ท าการเก็บรวบรวมข้อมูลของสายการผลิตกาแฟแบบคั่วบดโรงงานกรณีศึกษา โดยการ
               สังเกตและจดบันทึกจากเอกสารรายงานการผลิตต่างๆ ของโรงงานกรณีศึกษาในช่วงระยะเวลา    1 ปี ซึ่ง
               ประกอบด้วย  แผนการผลิตประจ าสัปดาห์  ปริมาณเมล็ดกาแฟที่ใช้ในการผลิต  จ านวนเครื่องจักรและพนักงาน

               และเวลาในการผลิตของแต่ละขั้นตอน   จากนั้นน าข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจ าลองสถานการณ์
               ด้วยคอมพิวเตอร์มาท าการหาลักษณะการแจกแจงความน่าจะเป็น โดยโปรแกรม Input Analyzer ซึ่งเป็นโปรแกรม
               เสริมที่มีในโปรแกรมส าเร็จรูป Arena 9.0
                       เมื่อท าการวิเคราะห์ข้อมูลแผนการผลิต  พบว่า อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ชนิด  Z  มีค่าความแปรปรวนสูง
               ในขณะที่อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ชนิด  T  มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยปริมาณอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ชนิด  T  มีค่าเฉลี่ย
               ประมาณ 6 เท่าของผลิตภัณฑ์ชนิด Z


               2.  การสร้าง VSM ของสายการผลิตปัจจุบันของโรงงานกรณีศึกษา
                       น าข้อมูลทั้งหมดของสายการผลิตมาท าการสร้าง VSM ที่แสดงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของสายการผลิต
               ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของโรงงานกรณีศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 2 โดยที่

                   1)  * เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงขั้นตอนที่เป็นจุดคอขวดของสายการผลิต
                   2)  ขั้นตอนการคัดขนาดด้วยเครื่องส าหรับผลิตผลิตภัณฑ์ชนิด  T  และผลิตภัณฑ์ชนิด  Z  พนักงานที่
               ปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้ คือ พนักงานของขั้นตอนการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมก่อนการคั่วส าหรับผลิตผลิตภัณฑ์ชนิด

               T ดังนั้น การระบุจ านวนพนักงานที่ใช้ในการผลิตที่ขั้นตอนการผลิตนี้จึงแตกต่างจากขั้นตอนอื่น
                   3)      เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงต าแหน่งที่มีการจัดเก็บวัสดุคงคลังระหว่างการผลิตในสายการผลิต  โดยมี
                        544
               การระบุจ านวนของวัสดุคงคลังที่จัดเก็บก ากับไว้ด้านล่างของสัญลักษณ์
                   4)  รอบเวลาการผลิต ( Cycle  Time;  CT) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการด าเนินงานส าหรับขั้นตอนการผลิต
               ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งต่อหนึ่งหน่วยปริมาณของผลิตภัณฑ์  เช่น การคั่วผลิตภัณฑ์ชนิด  Z จะมีรอบเวลาการผลิต
               โดยเฉลี่ยเท่ากับ 18 นาทีต่อรอบผลิต (Batch)









               ปรารถนา ปรารถนาดี, จิรชัย พุทธกุลสมศิริ, วรรณวิภา เศรณีวิจัยกิจการ และ ทีปพิพัฒน์ สุระพีพงษ์
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47