Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร: กรณีศึกษา
37
คอขวดขึ้นในสายการผลิต คือ ขั้นตอนการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเมล็ดกาแฟก่อนการคั่ว นอกจากนี้
โรงงานกรณีศึกษายังไม่มีรูปแบบการด าเนินงานในขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟที่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมี
วัตถุประสงค์ในการศึกษาและเปรียบเทียบหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิตกาแฟ
แบบคั่วบดของโรงงานกรณีศึกษา ส าหรับขั้นตอนการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมก่อนการคั่ว และขั้นตอนการคั่ว โดย
การใช้ VSM ในการระบุกิจกรรมสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในสายการผลิตเพื่อด าเนินการก าจัดออก และน าเทคนิคการ
จ าลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบและประเมินผล พร้อมทั้งวิเคราะห์
ผลตอบแทนจากการลงทุน โดยการค านวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV) และระยะเวลาคืนทุน
เมื่อปรับคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงิน (Discounted payback period) ของโครงการ เพื่อให้สามารถระบุแนว
ทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสมที่สุด
ข้อมูลพื้นฐานของโรงงานกรณีศึกษา
ผลิตภัณฑ์หลักของโรงงานกรณีศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก คือ (1) ผลิตภัณฑ์ชนิด Z ซึ่งแบ่งย่อย
ออกเป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบเมล็ดบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบบดบรรจุถุง และ
ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบบดบรรจุซอง และ (2) ผลิตภัณฑ์ชนิด T เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วแบบบดบรรจุกระป๋อง
กระบวนการผลิตกาแฟแบบคั่วบดของโรงงานกรณีศึกษา สามารถแสดงได้ดังภาพที่ 1
เมล็ดกาแฟ
คัดขนาด (Grading)
คัดแยกสิ่งแปลกปลอมก่อนคั่ว (Sorting before Roasting)
ผสมและคั่ว (Mixing and Roasting)
คัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยคร่าวก่อนบรรจุ (Sorting before Packing)
บรรจุถุง (Packing) บด (Grinding)
กาแฟคั่วแบบเมล็ดบรรจุถุง บรรจุซอง/ถุง (Packing) ทิ้งไว้ 1 คืน (Degasing)
(ผลิตภัณฑ์ชนิด Z)
กาแฟคั่วแบบบดบรรจุซอง/ถุง บรรจุกระป๋อง (Packing)
(ผลิตภัณฑ์ชนิด Z)
กาแฟคั่วแบบบดบรรจุกระป๋อง
(ผลิตภัณฑ์ชนิด T)
ภาพที่ 1 กระบวนการผลิตกาแฟแบบคั่วบดของโรงงานกรณีศึกษา
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์