Page 40 -
P. 40

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                              สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                                          บทที่ 4  สัทลักษณ   33



                                                               บทที่ 4
                                                              สัทลักษณ


                           4.1 สัทลักษณ  (Distinctive Features)

                                 สัทลักษณเปนหนวยประกอบยอยของหนวยเสียง (phoneme)    ซึ่งใชบอกคุณสมบัติทางสรีระ
                           ของการออกเสียง  หรือทางกายภาพที่เกี่ยวของกับหนวยเสียงนั้นๆ  ความแตกตางในสัทลักษณหนึ่ง

                           สัทลักษณ  สามารถแยกเอกลักษณของเสียงสองเสียงจากกันได ตัวอยางเชน  สัทลักษณบอกคุณสมบัติ
                           ของเสนเสียงสั่นหรือเสียงโฆษะ (voice)  จะแยกเสียงกักฐานกรณเดียวกันระหวาง เสียงกองหรือโฆษะ
                           (voiced)  / b /  และ เสียงไมกองหรืออโฆษะ (voiceless) / p /  ออกจากกัน


                                 สัทลักษณยังใชอธิบายการแปรของเสียงไดอยางชัดเจน  ตัวอยางเชนเสียงกักที่ปุมเหงือก
                           (Alveolar) /t/ แปรเปนเสียงที่หลังปุมเหงือก (post-alveolar) [τΣ] หรือ [ c& ]  ในบริบทที่ตามดวยสระสูง

                           หนา / i /  (high front vowel)   ถามองดูเสียงเปนหนวยรวม  เราไมเห็นภาพชัดเจนวาเหตุใดเสียงที่ปุม
                           เหงือกจึงแปรเปนเสียง  [τΣ]   ไมสามารถอธิบายความสัมพันธระหวางเสียง [τΣ] และ สระ / i / ได  เราจะ

                           สามารถเห็นคุณสมบัติรวมระหวางเสียง [ tΣ ]  และ [ i ] ไดชัดเจน วาคือการยกลิ้นสวนหนาขึ้นสูง (high)
                           ซึ่งคุณสมบัติของบริบทนี้เองที่เปนเหตุชักนําใหเกิดการแปรเสียงจาก / t / เปน [ tΣ ]  ดัง (1)


                                        (1)      t    →      tΣ    /             i


                              ซึ่งเขียนเปนสัทลักษณไดดังนี้


                                        (2)    -cont  →     -ant   /      v
                                               +ant         +high         +high
                                               +cor                       -back


                                 นอกจากนี้ สัทลักษณ  ยังเปนเครื่องบอกคุณสมบัติรวมของกลุมเสียงตางๆ(class)  ซึ่งมีพฤติกรรม
                           ทางเสียงในภาษาเหมือนกัน  เชน  / m ,n , n, r, l , w, j /    มีพฤติกรรมทางเสียงเหมือนกันในภาษาไทย

                           ในตําแหนงทายพยางค  คําถามคือ  คุณสมบัติใดที่เปนคุณสมบัติรวมของเสียงนาสิก (nasals)  เสียงเหลว
                           (liquids)  และเสียงกึ่งสระ (semi-vowels)    เหลานี้ นอกเหนือไปจากการเปนเสียงพยัญชนะทั้งหมด

                           คําตอบก็คือสัทลักษณ  [sonorant]    ซึ่งบงบอกวาเสียงเหลานี้มีลักษณะของชองเสียงที่ลมผานไดตลอด
                           และมีพลังเสียงมาก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45