Page 30 -
P. 30
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 2 เสียงพยัญชนะ 23
- - - ----------------------------- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -วีโอที
-25 0 +25 (มิลลิเซคเคินด)
โฆษะ →← อโฆษะสิถิล →← อโฆษะธนิต
ภาพที่ 2.9 เวลาแบงเขตของคาวีโอทีสําหรับการรับรูเสียงกักทั้ง 3 ประเภท
เสียงที่มีคาวีโอทีใกลบริเวณ –25 มิลลิเซคเคินด อาจทําใหผูฟงสับสนระหวางเสียงกัก
โฆษะกับเสียงกักอโฆษะสิถิล และเสียงที่มีคาวีโอทีใกลบริเวณ +25 มิลลิเซคเคินด อาจทําใหผูฟงสับสน
ระหวางเสียงกักอโฆษะสิถิล กับเสียงกักอโฆษะธนิต
เมื่อเราเชื่อมความสัมพันธระหวางการรับรูเสียงกักในการฟงและการออกเสียงกักใน
การพูด เราจะเห็นวาแทจริงเสียงในภาษามนุษยนั้น การพูดกับการฟงมีความสัมพันธกันอยางใกลชิด
คือระบบภาษาของเราเชื่อมโยงการรับรูในการฟงกับการออกเสียง การที่เราพูดโดยมีคาเฉลี่ย วีโอทีหาง
จากคาที่เปนเสนแบงเขตประเภทเสียงนั้น ก็คงจะเปนการชวยใหผูฟงจําแนกความแตกตางของเสียง
ไดมากที่สุด เพื่อกอใหเกิดความชัดเจนทั้งในการพูดและการฟง เพื่อการสื่อความหมายจะไดแจมชัด
ไมคลุมเครือ
2.6 การออกเสียงรวม ( Coarticulation )
คือ การออกเสียงสองเสียงที่ตอเนื่องกัน โดยมีสวนรวมฐานกรณ เชนในภาษาอังกฤษ
เสียง /t, d/ ในคําวา ‘eighth’ หรือ ‘width’ เมื่อ [ t ] และ [ d ] ติดตามมาดวยเสียงระหวางฟน
( interdental ) [6] จะเกิดการออกเสียงรวมคือ เสียง / t / และ / d / จะแปรเปนเสียง [ t ] และ [ d ] โดยมี
dental เปนสวนรวมฐานกรณกับ interdental [ 6 ] หรือเสียง / t / จะมีการออกเสียงรวมเปน [ t ] ใน
j
คําวา [ t i ] ‘tea’ หรือ [ t ] ในคําวา [ t u ] ‘two’ เปนตน การแปรเสียงในลักษณะนี้เกิดจาก
w
j
w
การเตรียมการลวงหนาสําหรับออกเสียงที่จะตามมาเราเรียกวา ‘anticipatory coarticulation’
(Ladefoged,1993) สวนการแปรเสียงรวมตามเสียงที่เกิดกอนเปนการรักษาเสียงเดิมไว การแปรเสียงรวม
แบบนี้เรียกวา ‘preservatory coarticulation’ การออกเสียงรวม ( co-articulation ) ชวยใหเราเขาใจและ
อธิบายพฤติกรรมของเสียงในเรื่องการกลมกลืนเสียง ( assimilation ) และอื่นๆ ฯลฯ ไดอยางดียิ่ง
แบบฝกหัด
ทําแบบฝกหัดที่ 2-5 จากทายเลม