Page 29 -
P. 29

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี




                           22     สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                                   บทที่ 2   เสียงพยัญชนะ


                                    สิ่งที่นาสนใจในเรื่องของวีโอที ก็คือ เปนมาตรฐานที่คอนขางจะแนนอนใชบอกความ

                           แตกตางของเสียงกักทั้ง 3 ประเภท ดังที่กลาวมาแลว  การจําแนกเสียงกักโฆษะและอโฆษะ  ตามประเพณี
                           นิยมที่เคยใชกันมานั้น ไมไดใหความแนนอนเทากับคาวีโอที  ตัวอยางเชน  เสียงกักโฆษะในภาษาอังกฤษ
                           /b, d, I/  ลิสเกอรและอับบรัมสัน พบวา ในตนพยางคเสียงกักโฆษะไมมีการสั่นของเสนเสียงในชวงเวลา

                           ที่ปดฐานกรณ  แตเสนเสียงเริ่มสั่นหลังจากเปดฐานกรณแลวเล็กนอย  ฉะนั้นเสียงกักโฆษะ และอโฆษะ
                           เชน /d/ และ /t/ในภาษาอังกฤษในตําแหนงตนพยางค  ตางก็มีคาวีโอทีเปนคาบวก  โดยที่ /d/ มีคาวีโอทีต่ํา

                           และ /t/ มีคาวีโอทีสูง

                                    ในทํานองเดียวกัน  ลิสเกอรและอับบรัมสัน พบวาในการออกเสียง อโฆษะธนิต  และอโฆษะ
                           สิถิลโดยทั่วๆไป  เสียงสิถิลเปนเสียงมีลมดวย  ไมไดเปนเสียงไมมีลมดังที่เขาใจกันตามคําอธิบายทั่วๆไป
                           แตเสียงทั้งสองประเภทซึ่งตางก็มีคาวีโอทีเปนคาบวกในภาษาจํานวนมากนั้นมีความตางกันที่เสียงสิถิล

                                                            h
                           เชน [p] มีคาวีโอทีต่ํา ขณะที่เสียงธนิต เชน [p ] จะมีคาวีโอทีสูง  ฉะนั้นการอธิบายตามประเพณีนิยมที่ทํา
                           กันมาโดยจําแนกเปนเสียงกักแบบมีลมกับไมมีลมนั้น อาจจะไมถูกตองครบถวน ลิสเกอรและอับบรัมสัน
                           จึงเสนอการจําแนกเสียงกักโดยคาวีโอทีแทน


                                        สําหรับเสียงกักอโฆษะ  คาวีโอทียังแปรผันเล็กนอยตามตําแหนงของฐานกรณ คือ ที่
                           ตําแหนงเพดานออน [k*, k] จะมีคาวีโอทีสูงกวาที่ปุมเหงือก [t*, t] และสูงกวาที่ริมฝปากทั้งสอง [p*, p]
                           ตามลําดับ ทั้งนี้เนื่องจากเวลาที่ฐานกรณเคลื่อนที่ออกจากกันในการเปดฐานกรณนั้น  ตําแหนงเพดานออน

                           ใชเวลานานกวาตําแหนงอื่นๆ  ซึ่งคงจะเกิดจากความเชื่องชาในการเคลื่อนตัวของกลามเนื้อลิ้น
                           (ดูตารางแสดงคาวีโอทีในภาคผนวก)


                                 2.5.4  การรับรูจําแนกเสียงกัก  (Categorial Perception of Stops)

                                        พิซโซนี (Pisoni,1977)  ไดทําการทดลองเกี่ยวกับการรับรูเสียงของมนุษย  และพบวา
                           เสียงสองเสียงซึ่งมีจุดเริ่มตนที่หางกันไมเกิน 20-40 มิลลิเซคเคินด (0.002-0.004 วินาที) ผูฟงจะไมสามารถ
                           แยกเสียงทั้งสองออกจากกัน  คือ จะไดยินประสมประสานเปนเสียงเดียวกัน  แตถาชวงเวลาที่เสียงทั้งสอง

                           เริ่มตน  ใชเวลาหางกันนานกวา 20-40 มิลลิเซคเคินด ผูฟงจะไดยินเสียงทั้งสองแยกจากกันเปนสองเสียง

                                        ในทํานองเดียวกัน  จากการทดลองการรับรูเสียงกักชนิดตางๆ (categorical  perception
                           of stops) พบวา เสียงกักสองเสียงที่มีคา วีโอทีหางกัน ตั้งแต  + 20 มิลลิเซคเคินด ขึ้นไป  ผูฟงจะสามารถ

                           จําแนกเสียงกักทั้งสองเปนสองชนิดตางกันคือระหวาง โฆษะ กับ อโฆษะหรือระหวางอโฆษะสิถิล
                           กับอโฆษะธนิต (Lisker & Abramson 1971, Pisoni & Lazarus 1973)


                           ถาเราจัดเวลาแบงเขตของคาวีโอทีจากการรับรูเสียง  เราจะไดคาคราวๆ ดังนี้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34