Page 18 -
P. 18
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 2 เสียงพยัญชนะ 11
บทที่ 2
เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ (consonant) คือ เสียงที่เปลงออกมาโดยมีการสกัดกั้นทางเดินของกระแสลม
ในชองเสียงตั้งแต ชองปากลงไปถึงชองคอจนถึงกลองเสียงทําใหกระแสลมไมสามารถผานตลอดไดอยาง
สะดวก
2.1 กระแสลมที่ใชในการออกเสียง (Air-stream Mechanism)
โดยปรกติ เสียงพยัญชนะในภาษาพูดตางๆ ใชกระแสลม 3 ชนิด คือ
2.1.1 กระแสลมจากปอด (Pulmonic Air-stream)
คือลมหายใจออกนั่นเอง สวนลมหายใจเขานั้นมักจะไมพบในภาษาพูดทั่วๆ ไป
2.1.2 กระแสลมจากเสนเสียง (Glottalic Air-stream)
คือ ลมที่กักอยูเหนือเสนสียง แบงเปนกระแสลมออก (egressive glottalic air-stream)
เราเรียกเสียงที่ใชกระแสลมชนิดนี้วา “เสียงกักเสนเสียงลมออก” (ejective) ไดแกเสียง
p’ , t’ , k’ เปนตน และกระแส ลมเขา (ingressive glottalic air-stream) เราเรียกเสียง
ชนิดนี้วา “เสียงกักเสนเสียงลมเขา” (implosive) ไดแกเสียง , È, เปนตน
2.1.3 กระแสลมจากเพดานออน ( Velaric Air-stream)
คือลมพุงเขาที่ปากเนื่องจากการลดความดันในชองปากระหวางเพดานออนและฐาน
กรณ เสียงชนิดนี้เรียกกันวา “เสียงเดาะ” ( click )
ภาษาสวนใหญมักจะใชกระแสลมปอด (หรือลมหายใจออก) ในการพูดรวมทั้งภาษาไทยปจจุบัน
ดวย เสียงพยัญชนะไทยทั้งหมด 21 เสียงในปจจุบัน เปนเสียงที่ใชกระแสลมจากปอดทั้งหมด
2.2 ฐานกรณของเสียง (Place of Articulation)
เสียงที่ใชกระแสลมจากปอด ลมจะผานกลองเสียงขึ้นมาทางหลอดลม และผานออกสูภายนอก
ทางชองปาก (หรือชองจมูก) โดยจะถูกสกัดกั้นที่ฐานกรณตางๆ ทําใหเกิดเปนเสียงตางๆ กัน
สําหรับภาษาตางๆ มีฐานกรณตางๆ ดังนี้ :