Page 17 -
P. 17
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
10 สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 1 สัทวิทยาเพิ่มพูน
สําหรับแนวคิดเรื่องสามัตถิยะทางภาษา ( Linguistic competence ) และการใชภาษา
(Linguistic performance) พัฒนาคูขนานกับแนวคิดเรื่องเสียงในระดับลึก ( underlying form หรือ
phonological representation ) และเสียงในชั้นผิว ( surface form หรือ phonetic form ) โดยมีชอมสกี้
(Chomsky,1957) และชอมสกี้และแฮลี (Chomsky & Halle,1968) นําหนา พัฒนาการนี้ไดแนวคิดมาจาก
เดอ เซอซูร (de Saussure) ในเรื่องลังก แอนด ปาโรล (Langue & Parole)
ในชวงตนของทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูน หลังจากที่เอสพีอีไดแจงเกิด ความสนใจของ
นักสัทวิทยามุงเนนในเรื่อง “ความเปนธรรมชาติ” ( naturalness ) ของกฎทางเสียง และถกแยงในเรื่อง
ความเปนนามธรรมของเสียง ( abstractness )
ความสนใจเรื่อง สัทลักษณ พยางค การเนนพยางคและการเก็บเสียงในรูปลึก ตลอดจน
คลังศัพท ฯลฯ ไดพัฒนาตอมาโดยเฉพาะจากลูกศิษยของ ชอมสกี้และแฮลี จากสํานัก MIT และไดมาซึ่ง
ทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูนรวมสมัย (Modern generative phonology) อีกหลายๆทฤษฎีไดแก
ก. สัทวิทยาอัตภาค (Autosegmental Phonology) โดยโกลดสมิธ (Goldsmith,
1976,1979,1990)
ข. สัทวิทยาแกนพยัญชนะและสระ ( CV Phonology ) โดยคลีเมนสและคียเซอร
(Clements & Keyser, 1983)
ค. พจนสัทวิทยา (Lexical Phonology) โดยคีปารสกี้ (Kiparsky, 1985) โมฮานัน
(Mohanan, 1985) และพูลียแบลงค (Pulleyblank, 1986)
ง. สัทวิทยาโครงสรางการเนนพยางค (Metrical Theory ) โดยลิบเบอรมัน (Liberman,
1979) และลิบเบอรมันและพรินส (Liberman & Prince, 1977)
จ. ทฤษฎีเสียงระดับลึก (Underspecification Theory) โดยสเตรีอาดี (Steriade, 1982)
ฉ. ทฤษฎีเครือขายเชื่อมโยงสัทลักษณ (Geometry of Phonological Representation) โดยคลี
เมนส (Clements, 1985)
ช. ทฤษฎีความเหมาะที่สุด (Optimality Theory) โดยพรินสและสโมเลนสกี้ (Prince &
Smolensky, 1993 )
ซึ่งเราจะไดกลาวถึงและศึกษากันตอไปโดยจะเนนสัทวิทยาอัตภาค (บทที่ 8) สัทวิทยา
โครงสรางการเนนพยางค (บทที่ 9) และพจนสัทวิทยา (บทที่ 10)
แบบฝกหัด
ทําแบบฝกหัดที่ 1 จากทายเลม