Page 21 -
P. 21

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี




                           14     สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                                   บทที่ 2   เสียงพยัญชนะ

                           2.3 ลักษณะการออกเสียง (Manner of Articulation)

                                  ลักษณะของเสียงเกิดจากการที่ฐานกรณเคลื่อนที่เขาหากันในลักษณะตางๆ ทําใหเกิดการสกัด
                           กั้นลมที่ผานฐานกรณนั้นๆ ในลักษณะตางๆ กัน กอใหเกิดเสียงชนิดตางๆ ดังปรากฏในภาษาตางๆดังนี้

                                 2.3.1  เสียงกัก (stop)
                                        เกิดจากการที่ฐานกรณเคลื่อนที่เขาหากันอยางสนิท  คือ กรณสัมผัสฐานปดชองลมที่จุด
                           นั้นๆ ทําใหลมไมสามารถผานออกมา คือ ถูกกัก  หรือหยุด เมื่อฐานกรณเคลื่อนที่ออกจากกัน  แรงดันที่

                           เกิดจากลมกักหลังฐานกรณ  ทําใหเกิดเสียงระเบิด เสียงกักชนิดนี้จึงเรียกวาเสียงระเบิด (plosive)  เชน
                           เสียง p , p , b , t , d , k , I เปนตน
                                  h
                                 2.3.2  เสียงเสียดแทรก (fricative)
                                        เกิดจากการที่ฐานกรณเคลื่อนที่เขาหากัน  สัมผัสกันไมสนิท คือ กรณเขาใกลฐาน

                           แตไมแตะฐานกอใหเกิดชองลมเล็กๆ แคบๆ ที่ลมสามารถเสียดแทรกผานไปได เชน เสียง s , z , h , f , v
                           เปนตน
                                 2.3.3  เสียงกึ่งเสียดแทรก (Affricate)

                                        เกิดจากการที่ฐานกรณเคลื่อนที่เขาหากันปดสนิท  แลวจึงแยกออกจากกันเล็กนอย
                           กอใหเกิดชองแคบๆ ใหลมเสียดแทรกออกมาได  เชน เสียง ts , dz , t5 , d<   เปนตน
                                 2.3.4  เสียงกึ่งสระ  (Semi-vowel)

                                        เกิดจากการที่ฐานกรณเขาใกลกัน  แตลมสามารถผานไปได เชน เสียง  w , j  เปนตน
                                 2.3.5  เสียงลิ้นกระทบ  (Tap) หรือ ลิ้นสะบัด (Flap)

                                        เกิดจากกรณเคลื่อนที่ไปแตะฐาน  แลวเคลื่อนที่ออกจากฐานทันทีหลังจากแตะ เชนเสียง
                           [4]   คือปลายลิ้นเคลื่อนที่ไปแตะที่หลังปุมเหงือกและเคลื่อนที่ออกจากตําแหนงนั้นอยางรวดเร็ว
                           ตัวอยางเชนเสียง ‘ร’ ในการพูดปกติในภาษาไทยเปนตน

                                 2.3.6    เสียงรัว (trill)
                                        ปลายลิ้นเคลื่อนที่ไปแตะฐานที่หลังปุมเหงือกแลวเคลื่อนที่ออกอยางรวดเร็ว  แตมี

                           การเคลื่อนที่เขาหาและออกหาง  ไป-กลับ เชนนี้ซ้ําๆ กันหลายๆ ครั้ง เปนเสียงรัว แทจริงแลวเสียง “ร” ใน
                           ภาษาไทยปจจุบันเปนเสียงที่กลายมาจากเสียงรัวลิ้น คือ เสียง   r    เสียงรัวลิ้นมักจะพบเฉพาะเวลาที่ผูพูด
                           ตั้งใจ (จงใจ) พูด หรือ ในการอานออกเสียงภาษาไทยอยางระมัดระวัง

                                 2.3.7  เสียงขางลิ้น (Lateral)
                                        เกิดจากการที่ลิ้นสวนหนายกขึ้นสัมผัสฐานที่ปุมเหงือก ขณะที่ดานขางทั้งสองของลิ้น

                           งอตัวกอใหเกิดชองลมทําใหลมผานออกมานอกปากได เชน เสียง  l  เปนตน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26