Page 13 -
P. 13
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
6 สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 1 สัทวิทยาเพิ่มพูน
1.2 สัทวิทยาเพิ่มพูน (Generative Phonology)
ในการศึกษาระบบเสียงในภาษา นักสัทวิทยาจําเปนตองมี “เครื่องมือ” ที่ใชวิเคราะหระบบเสียง
ภาษาเปรียบเสมือนวัตถุดิบที่มีอยู ทฤษฎีการวิเคราะหภาษาเปรียบเสมือน “เครื่องมือ” ที่นํามาใช
วิเคราะหระบบตางๆ ของภาษา ผลการวิเคราะหจะละเอียดถี่ถวนและการวิเคราะหจะมีประสิทธิภาพสูง
เพียงใด ขึ้นอยูกับตัวทฤษฎีที่นักภาษาศาสตรนํามาใช ทฤษฎีอาจจะมีความแตกตางกันในจุดประสงค
ของการวิเคราะหภาษา ทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูนเปนแนววิเคราะหระบบเสียงของภาษาแนวหนึ่งที่ใช
ไดผลดี และใหผลวิเคราะหที่สอดคลองกับความเปนจริงทางจิตวิทยาของผูพูดภาษาแม (psychological
reality of native speakers)
สัทวิทยาเพิ่มพูนพัฒนาตอจากทฤษฎีสัทวิทยาโครงสราง (Structuralism) ซึ่งเฟองฟูในยุโรป
และอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ทฤษฎีโครงสรางตั้งอยูบนฐานของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
โดยเนนการเรียนรูภาษาในลักษณะการตอบสนองตอสิ่งเราและการเทียบเคียงโครงสราง (analogy)
ทฤษฎีเพิ่มพูนมีแนวคิดพื้นฐานมาจากจิตวิทยาปริชาน (Cognitive psychology ) โดยเนนความสามารถ
ทางภาษาที่อยูภายใน (สมอง) ของผูพูด/ผูฟง (Mentalist view) และพฤติกรรมทางภาษาที่แสดงถึง
ความเปนจริงทางจิตวิทยาของผูพูด (psychological reality) เอ็ดเวิรด แซปเพียร (Edward Sapir) ชาว
อเมริกันเปนผูเริ่มศึกษาความเปนจริงทางจิตวิทยาของผูพูดภาษาอินเดียนแดงภาษาซารซี (Sarcee) ใน
ประเทศแคนนาดา (Kentowicz 1994 : 2-4) และไดนําเสนอผลการศึกษาในบทความเรื่อง “The
Psychological Reality of Phoneme”
ในป ค.ศ. 1933 แซปเพียร พบวาคํา 2 คําที่พองเสียงกัน [dini] ‘อันนี้ (this one)’ และ [dini]
‘มันทําใหเกิดเสียง (it makes a sound)’ ผูพูด/ผูฟงภาษาแมสามารถจําแนกความแตกตางได เนื่องจาก
คําทั้งสองมีหนวยเสียงที่ตางกันในสมองของผูพูด/ผูฟง คือ [dini] ‘อันนี้ (this one)’ มาจาก /dini/
ขณะที่ [dini] ‘มันทําใหเกิดเสียง (it make sound)’ มาจาก / dinit / และหนวยเสียง /t/ ไมปรากฏ
เปนเสียงในการพูด คือถูกลบทิ้งกอนพูดในคําเดี่ยวและจะปรากฏตัวเมื่อมีหนวยคํามาตอทาย
เชน [diniti] “relative form” ของ ‘มันทําใหเกิดเสียง (it makes a sound)’ หนวยเสียง / t / จึงเปนจริง
ในสมองของผูพูด/ผูฟงภาษาแม แตผูพูด/ผูฟงจะพูดหรือไดยินเสียง / t / หรือไม ขึ้นอยูกับตําแหนง
และบริบทของการใชคําวา /dinit/ ในภาษา
แนวคิดในเรื่องความเปนจริงทางจิตวิทยาของผูพูดภาษาแม จึงเปนแนวคิดที่พัฒนามาเปนทฤษฎี
เพิ่มพูน โดยจําแนกหนวยเสียงในสมองกับเสียงที่พูดจริงและไดยินจริงและมีกฎเกณฑทางเสียงเชื่อมโยง
ระหวางหนวยเสียงและเสียง