Page 9 -
P. 9
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
2 สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 1 สัทวิทยาเพิ่มพูน
วงจรนี้เริ่มตนที่สามัตถิยะทางภาษา ( Linguistic competence ) คือความรูความสามารถทางภาษา
ที่เปนธรรมชาติของมนุษย โดยเฉพาะในสวนที่เกี่ยวของกับเสียงและระบบเสียงซึ่งเปนเรื่องทาง สัทวิทยา
( Phonology ) การออกเสียงและเปลงเสียงเปนเรื่องทางสรีรสัทศาสตร (Articulatory phonetics)
กายภาพของเสียงหรือคลื่นเสียงเปนเรื่องทางกลสัทศาสตร ( Acoustic phonetics ) และการไดยินและรับรู
เสียงเปนเรื่องทางโสตสัทศาสตร ( Auditory phonetics ) การถอดเสียงในถอยความของผูฟงเปนเรื่อง
ของสามัตถิยะทางภาษาที่เกี่ยวของกับเสียงและระบบเสียงซึ่งสัมพันธกับหนวยคําหรือคําซึ่งเปนเรื่องของ
สัทวิทยา
สัทวิทยาเปนการศึกษาเรื่องเสียงและระบบเสียงของภาษาซึ่งเปนนามธรรมและปรากฎเปน
พฤติกรรมทางภาษาที่เปนรูปธรรมกลาวคือสัทวิทยาศึกษาโครงสรางและหนาที่ของเสียงซึ่งสัมพันธกับ
ความหมายในภาษา
1.1 เสียงและหนวยเสียง (Phonetics and Phonological Representations)
1.1.1 เสียง (Phonetic Representation)
เสียง คือ สิ่งที่ผูพูดเปลงออกมาแตละครั้ง และผูฟงไดยินเปนเสียงๆหนึ่ง สรีระของ
การออกเสียงแตละเสียงแตกตางกันไปตามอวัยวะตางๆที่ใชในชองเสียงของผูพูด ตั้งแตกลองเสียงผาน
ชองคอ ชองปาก และ/หรือชองจมูก เพดานปากตลอดจนถึงริมฝปาก เสียงในลักษณะนี้เมื่อพูดตอเนื่อง
เปนคําหรือถอยความจะมีคุณสมบัติในเชิงกายภาพเปนคลื่นเสียงตอเนื่อง หาจุดเริ่มตนหรือจุดจบที่ชัดเจน
ของเสียงแตละเสียงในถอยความไดยาก นอกจากนี้เสียงในลักษณะนี้ยังมีคุณสมบัติที่อาจมีการแปร
(variation) ไปตามเสียงที่อยูในบริบทขางหนา หรือขางหลังในคําหรือถอยความ และมักจะไมมีความคงที่
ในการพูดแบบตอเนื่อง (speech)
เสียงที่พบในภาษาพูดของมนุษย พอจะสรุปตามฐานกรณ ( place of articulation )
ที่เกิดและลักษณะการออกเสียง ( manner of articulation ) และชนิดของกระแสลม (air-steam mechanism)
ที่ใช ไดดังตารางที่ 1.1 และ 1.2 ตอไปนี้