Page 17 -
P. 17

ิ
                                               ์
                                                                                  ั
                                                                                            ุ
                                 ิ
                              ื
                                                   ิ
                                            ิ
       โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                             ี

                 เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย หรือ การบริการวิชาการหรือไม่ ซึ่งในการปฏิบัติเพื่อการขออนุญาตดังกล่าวก็
                 จะต้องใช้หลักธรรมาภิบาลในการให้การอนุญาต เพราะอาจจะเกิดการเปรียบเทียบได้ถ้าไม่ใช้หลักการที่ดีในการพัฒนา

                 ตนเองของบุคลากร โดยประโยชน์ของการพัฒนาอาจารย์นั้น ต้องดำเนินการทั้งเพื่อพัฒนาตนเองเพื่อภารกิจหลักของ

                 อาจารย์ และ การพัฒนาตนเองเพื่อการมุ่งเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยอันจะได้ประโยชน์ทั้งต่อตัวอาจารย์เอง และ
                 หน่วยงาน

                            - กำกับดูแลการให้คำปรึกษา และ ติดตามการเรียนของนิสิตในที่ปรึกษา

                             การดูแลนิสิตในที่ปรึกษา ถ้าหัวหน้าภาคสามารถให้มีการดูแลได้อย่างทั่วถึง และ ทันเวลาแก่ความ

                 ต้องการโดยเสมือนบุคคลในครอบครัว จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการที่ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลาน เข้ามาเรียนที่

                 ภาควิชา โดยการดูแลดังกล่าวเป็นการดูแลผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และกรรมการพัฒนาการศึกษาและพัฒนา
                 นิสิต การดูแลนอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว การดูแลนิสิตผ่านกรรมการพัฒนาการศึกษาและพัฒนานิสิตของ

                 ภาควิชาก็มีความจำเป็นมาก เพราะจะสามารถติดต่อ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานิสิต ในการดำเนินงาน

                 อย่างรวดเร็ว และทันเหตุการณ์ เพราะการดูแลในที่นี้หมายถึงการดูแลทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

                 และการเรียนของนิสิตเพื่อให้นิสิตเรียนจบและได้รับปริญญาตามความมุ่งหมายของนิสิตเอง และ ผู้ปกครอง


                        5.2) บุคลากรสายสนับสนุน

                            - กำกับดูแลการบริหารงานให้แก่บุคลากรสายสนับสนุน

                             บุคลากรสายสนับสนุนจะไม่มีภาระงานหลักเหมือนสายวิชาการ ทั้ง 4 ด้านคือ งานสอนและพัฒนา

                 นิสิต งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามหัวหน้าภาควิชาจำเป็นต้อง

                 มอบหมายภาระงานให้กับบุคลากรในภาควิชาให้สามารถช่วยสนับสนุนงานครอบคลุมทุกภารกิจทั้ง 4 ด้านและงาน
                 อื่น ๆ ตามภารกิจของภาควิชา ซึ่งงานเหล่านั้นจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาควิชามีผลงานสำเร็จตาม

                 เป้าหมายที่วางไว้ โดยการใช้ระบบ PMS ในการกับกับดูแลเช่นเดียวกับสายวิชาการ พร้อมทั้งต้องวางแผนการ

                 พัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนด้วย ดังนั้นการมอบหมายงาน จำเป็นต้องส่งเสริมกับ

                                                                                               ื่
                 ภาระงานตามข้อกำหนดมาตรฐานของตำแหน่งนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้บุคลากรสามารถสร้างผลงานเพอนำไปใช้ในการเข้า
                 สู่ตำแหน่งทางวิชาการได้ และในทำนองเดียวกันกับบุคลากรสายวิชาการ หัวหน้าภาคจะต้องมีการวิเคราะห์ และ

                 วางแผนการรับบุคลากรเพื่อเข้าทำงานทดแทนการเกษียณอายุราชการ ของบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดย
                 ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้กำหนดจำนวนบุคลากรสายสนับสนุนที่เหมาะสมของภาควิชาไว้จำนวน 6 ท่าน

                 ต่อภาควิชา อย่างไรก็ตามหากภาควิชา มีภารกิจมากทำให้จำเป็นต้องใช้บุคลากรสายสนับสนุนเพิ่มเติม ก็สามารถ

                                                                                               ี
                 จ้างเองโดยใช้เงินในส่วนของภาควิชาได้ (แต่หากสามารถบริหารโดยใช้บุคลากรสายสนับสนุนเพยง 6 ท่านให้ทำงาน
                 ได้ก็จะไม่เสียงบประมาณในการจ้างบุคลากรเพิ่ม ทำให้ภาควิชาสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้)

                                                              -13-
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22