Page 68 -
P. 68
ิ
ิ
ิ
์
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจดทะเบียนยีสตปฏิปกษเพื่อใชในเชิงพาณิชย
การใชเชิงพาณิชยของยีสตปฏิปกษมีกระบวนการที่ใชเวลานานและมีคาใชจายสูง ตองมี
การทดสอบทางพิษวิทยาและประสิทธิภาพการควบคุมทางชีวภาพภายใตเงื่อนไขทางการคาอยาง
กวางขวาง ตัวอยางยีสตและราคลายยีสตที่นำมาผลิตเปนผลิตภัณฑใชในเชิงพาณิชย เชน C.
oleophila, Cry. albidus, M. fructicola, S. cerevisiae, A. pullulans (ราคล้ายยีสต์) ดังแสดงในตาราง
ที่ 2.1 บทที่ 2
Candida oleophila
C. oleophila เปนยีสตสปชีสแรกที่ไดพัฒนาเปนผลิตภัณฑควบคุมทางชีวภาพใน
เชิงพาณิชย โดย C. oleophila สายพันธุ I-182 ใชผลิตผลิตภัณฑควบคุมทางชีวภาพสำหรับโรคพืชที่
ใชในเชิงพาณิชยรุนแรก ชื่อ Aspire® โดยที่ Aspire® อยูในตลาดหลายป แตขณะนี้ไมมีการผลิตและ
จำหนายแลว เนื่องจากเหตุผลหลายอยาง เชน การทำการตลาดยาก ไดกำไรนอย มีความ
ไมสม่ำเสมอ การมีประสิทธิภาพต่ำภายใตเงื่อนไขในเชิงพาณิชย ตอมามีการผลิตผลิตภัณฑ Nexy®
จาก C. oleophila สายพันธุ O โดย Nexy® เปนผลิตภัณฑชนิดแรกที่จดทะเบียนสำหรับการควบคุม
ทางชีวภาพของโรคหลังเก็บเกี่ยวในผลไมที่มีผลแบบแอปเปล (pome) สม และกลวย ไดรับการอนุมัติ
จดทะเบียนในยุโรป ใน ค.ศ. 2012 (European Food Safety Authority (EFSA) 2012; Spadaro and
Droby 2016; Freimoser et al. 2019; Wisniewski et al. 2016; Zhang et al. 2020)
Cryptococcus albidus
Cryp. albidus ใชในการผลิต YieldPlus® ที่เปนผลิตภัณฑยีสตปฏิปกษที่ผลิตในเชิงพาณิชย
รุนแรก เชนเดียวกับ Aspire® จดทะเบียนเมื่อ ค.ศ. 1997 และวางตลาดโดย Anchor Bio-
Technologies ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต YieldPlus® อยูในตลาดมากกวา 15 ป แตปจจุบันไมมีใน
ตลาดแลวดวยเหตุผลเชนเดียวกับกรณีของ Aspire® (Spadaro and Droby 2016; Freimoser et al.
2019; Zhang et al. 2020) สำหรับ Yieldplus® พัฒนาขึ้นมาเพื่อใชควบคุม B. cinerea และ P.
expansum ในผลไมที่มีผลแบบแอปเปล และสม และภายหลังแสดงประสิทธิภาพในการควบคุมที่ทำ
ใหเกิดโรคกับผลสตรอเบอรีหลังการเก็บเกี่ยวระหวางการเก็บในที่เย็น (Kowalska et al. 2012)
สำหรับกลไกลการเปนปฏิปกษหลักฐานสวนใหญชี้ไปที่การแขงขันเพื่อสารอาหารและพื้นที่
นอกจากนั้นยังอาจพบกลไกอื่น เชน การสรางเอนไซมกลูคาเนส ไคทิเนส และโปรทีเอส การสราง
สารอินทรียระเหยงาย อยางไรก็ตามกลไกเหลานี้ไมเชื่อมโยงโดยตรงกับการยับยั้งโรคพืชที่เปน
เปาหมาย (Freimoser et al. 2019)
การประยุกตใชยีสตเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมยุคใหม 59