Page 70 -
P. 70

์
                                    ิ
                  โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                             ิ
                                 ื
                                                                              ิ
                                                                   ิ

                ระเหยงาย ซึ่งพบจากการศึกษากิจกรรมการตอตานรา Col. acutatum บนสม (Lopes et al. 2015)

                Guignardia citricarpa ที่เปนสาเหตุของโรคจุดดำในสม (Fialho et al. 2010) และ B. cinerea ซึ่งทำ

                ใหเกิดโรคหลังเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี (Oro et al. 2017) จากการวิเคราะหทรานสคริปโทม

                (transcriptome) ยืนยันวาผนังเซลลของ S. cerevisiae LAS117 ที่ผลิตเปนผลิตภัณฑ เชน

                cerevisane® เหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนของพืชที่เกี่ยวของกับการเขาทำลายโดยรา (De

                Miccolis Angelini et al. 2019) ดังนั้น S. cerevisiae จึงจัดวาเปนสิ่งมีชวิตควบคุมทางชีวภาพสำหรับ
                                                                                     ี
                ลดการเจริญของรากอโรคและสารพิษจากราในผลไม พืชผัก และอาหารสัตว อยางไรก็ตามมีเพียง                      บทที่ 2

                ผลิตภัณฑ Romeo® ที่มี cerevisane® เปนตัวออกฤทธิ์เทานั้นที่จดทะเบียนสำหรับใชในการควบคุม
                                                                                                   
                ทางชีวภาพ โดยผลิตจาก S. cerevisiae สายพันธุสำหรับการผลิตเบียร (brewer’s yeast) ผลิตภัณฑ

                นี้ใชควบคุมโดยเหนี่ยวนำภูมิคุมกันตอโรคราน้ำคางขององุน ผลไม และผัก โดย Romeo® แตกตาง

                จากผลิตภัณฑอื่นเนื่องจากไมมีเซลลที่มีชีวิต (European Food Safety Authority (EFSA) 2015;

                Freimoser et al. 2019)


                Aureobasidium pullulans


                          A. pullulans เปนราคลายยีสตที่พบทั่วไปมักแยกไดจากใบไม ดอกไม และดิน มีการ

                รายงานกิจกรรมการควบคุมทางชีวภาพของ A. pullulans หลายสายพันธุ แตเฉพาะสายพันธุ DSM

                14940 (CF 10) และสายพันธุ DSM 14941 (CF 40) เทานั้นที่จดทะเบียนในรูปของเชื้อผสมในการ

                ควบคุมโรคไหม (fireblight disease) ที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Erwinia amylovora และเปน

                โรคหลังเก็บเกี่ยว โดยมีสวนผสมของ A. pullulans 2 สายพันธุนี้พัฒนาเปนผลิตภัณฑในรูปของผง

                ที่ละลายน้ำภายใตชื่อ Blossom-Protect® โดยผลิตโดยบริษัท Bio-ferm ของประเทศออสเตรเลีย

                นอกจากนั้นยังไดพัฒนายีสตผสม 2 สายพันธุนี้เปนผลิตภัณฑและจดทะเบียนในชื่อ Boni-Protect®

                สำหรับควบคุมโรคหลังเก็บเกี่ยวของแอปเปล และไดมีการศึกษาการควบคุมโรคเนาของสตรอเบอร              ี

                พลัม และเชอรรีเปรี้ยว และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑชื่อ Botector® เพื่อการควบคุมทางชีวภาพ

                ราสีเทา B. cinerea ในผลองุน สตรอเบอร และมะเขือเทศ กลไกการควบคุมของ A. pullulans คือการ
                                                        ี
                แขงขันเพื่อสารอาหารและพื้นที่ รวมทั้งการสรางและหลั่งเอนไซม เชน โปรทีเอส ไคทิเนส อาจมีสวน

                รวมดวย อยางไรก็ตามยังไมมีการรายงานเกี่ยวกับเมแทบอไลตและเอนไซมที่จำเพาะของ

                สายพันธุ DSM 14940 (CF 10) และสายพันธุ DSM 14941 (CF 40) (Freimoser et al. 2019;

                Wisniewski et al. 2016; Zhang et al. 2020)










                                                          การประยุกตใชยีสตเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมยุคใหม      61
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75