Page 84 -
P. 84

์
                                                                 ิ
                                                                             ิ
                                            ิ
                 โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                               ื
                                  ิ


               อยู่ในธรรมชาติได้เป็นระยะเวลานาน เช่น อยู่ในดินได้นานกว่า 10-20 ปี จึงมีผลท าให้การก าจัดโรคนี้หมดไป
               ท าได้ยาก สัตว์ที่ไวต่อการเกิดโรคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยเฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าเป็นอาหาร

               ได้แก่  กระบือ แพะ แกะ เนื่องจากกินสปอร์ที่ปนเปื้อนมากับหญ้าหรือดิน ในสัตว์อื่นๆ เช่น ม้า พบการเกิดโรค
               ค่อนข้างน้อย ส่วนในสุกร สุนัข แมว และสัตว์ป่าก็มีโอกาสติดเชื้อได้

               การติดต่อ

               การติดต่อในสัตว์
                       1. ทางปาก ด้วยการกินอาหารหรือหญ้าที่มีสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ปนเปื้อน
                       2. ทางการหายใจ ด้วยการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าสู่ร่างกาย สาเหตุมักเกิดจากในขณะที่สัตว์เล็ม

               หญ้าก็ดึงเอารากที่ติดดินขึ้นมาด้วยท าให้สปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ที่ติดอยู่ตามใบหญ้าหรือในดิน ปลิวฟง
                                                                                                        ุ้
               กระจายเข้าสู่ร่างกายทางจมูกด้วยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป
                       3. ทางผิวหนังที่มีบาดแผล รอยถลอก หรือรอยขีดข่วน

               การติดต่อในคน
                       1. ทางผิวหนัง จากการสัมผัสเชื้อผ่านผิวหนังที่มีบาดแผลรอยถลอก หรือรอยขีดข่วน การช าแหละ

               ซากสัตว์หรือสัมผัสหนัง ขน เลือดสัตว์ที่เป็นโรค
                       2. ทางปาก ด้วยการกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ลู่
                       3. ทางการหายใจ โดยการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป มักพบในคนงานที่ท างานในโรงงานฟอก

               หนัง ขนสัตว์ หรือปุ๋ยที่ท าจากกระดูกสัตว์ป่น
               ระยะฟักตัวของโรค

                       ประมาณ 1-20 วัน ในสัตว์กินพืช จะแสดงอาการเด่นชัดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 3-7 วัน

               อาการในสัตว์
                       1.  ไข้สูง
                       2.  ไม่กินหญ้า แต่ยืนเคี้ยวเอื้อง มีน้ าลายปนเลือด
                       3.  หายใจล าบาก

                       4.  ยืนโซเซ กล้ามเนื้อกระตุก ชัก
                       5.  ตายกะทันหัน
                       6.  บางครั้งพบการบวมน้ าของชั้นใต้ผิวหนัง เช่น ส่วนล่างของล าคอ ช่วงอก และไหล่

                       7.  พบมีเลือดไหลออกจากปาก จมูก และรูทวาร อวัยวะเพศ เลือดมีลักษณะเป็นสีด าๆ ไม่แข็งตัว
               กลิ่นเหม็นคาวจัด ซากสัตว์จะนิ่ม และเน่าอืดเร็ว

               อาการในคน
                                          ั
                       คนที่ติดเชื้อจะมีระยะฟกตัวของโรคประมาณ 12 ชั่วโมง ถึง 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กบวิธีการติดต่อของโรค
                                                                                       ั
               อาการของโรคพบได้ 3 ลักษณะตามวิธีการติดต่อของโรค คือ
                       1. อาการทางผิวหนัง โดยเริ่มแรกจะเป็นรอยนูนแดงแล้วกลายเป็นตุ่มใส จากนั้นจะกลายเป็นหนอง
               เมื่อแตกจะกลายเป็นแผลปกคลุมด้วยเนื้อตายสีด าๆ ขอบแผลจะนูนเป็นวงโดยรอบ มักเป็นที่มือแขน ขา
               และล าคอ หรือใบหน้า ในรายที่รุนแรงมากการอกเสบจะลุกลามไปต่อมน้ าเหลืองเข้าสู่กระแสเลือดและท าให้
                                                        ั
               เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้

                       2. อาการทางระบบทางเดินอาหาร หลังจากที่กินอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุท าให้เกิด


                                                             คู่มือการผลิตกระบือพันธุ์ส าหรับผู้ประกอบการ | 77
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89