Page 86 -
P. 86

โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                 ิ
                                                                             ิ
                                               ์
                                            ิ
                                  ิ
                               ื


               อาการของโรค
               ระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยประมาณ 2-8 วัน สัตว์จะมีอาการ ไข้ ซึม เบื่ออาหาร

               เกิดเม็ดตุ่มใส ที่เยื่อบุภายในช่องปาก หรือลิ้น หรือเหงือก หลังจากนั้นตุ่มจะแตก และเกิดการลอกของเนื้อเยื่อ
               ท าให้สัตว์เจ็บปาก ไม่กินอาหาร น้ าลายไหลยืดเป็นฟอง
               ระยะสอง เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกาย ผิวหนังที่เท้าจะบวมเต่ง เกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่าง
               ช่องกีบ ไรกีบ แล้วแตกออกเป็นแผล ในรายที่เป็นมากกีบอาจหลุดได้ ท าให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่ม

               แตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยท าให้แผลหายช้า
                       อัตราการป่วย ในฝูงสัตว์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 80 - 100 เปอร์เซ็นต์
                       อัตราการตายในฝูงสัตว์ที่ป่วย สัตว์ใหญ่ 1 - 4 เปอร์เซ็นต์
                       อัตราการตายในลูกสัตว์อาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกกระบือระยะดูดนมอาจสูงถึง 100%

                       ในสัตว์ที่ท้อง อาจท าให้เกิดการแท้ง และมีปัญหาการผสมไม่ติด

               การรักษา
                       เนื่องจากโรคปากและเท้าเปื่อยมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มีการรักษาเฉพาะส าหรับโรคนี้
               หลักของการรักษาโรคปากและเท้าเปื่อย คือ การรักษาตามอาการและการป้องกันการติดเชื้อแทรกซอน
                                                                                                 ้
                       การรักษาตามอาการ ได้แก่ การรักษาด้วยวิธีต่างๆ อันมีวัตถุประสงค์จะให้แผลที่เกิดขึ้นที่ปากหรือกีบ
               หายได้เร็วที่สุด ได้แก่ การใช้ยาประเภท เจนเชียนไวโอเลท (Gentian violet) หรือใช้เกลือป่นทาแผลทั้งที่จมูก
               ปาก เหงือก หรือกีบ เป็นต้น ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์
                       การรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน การติดเชื้อแทรกซ้อนของแผลที่เกิดขึ้นจากโรคปาก
                                                                                           ั
                                                                ั
               และเท้าเปื่อยอาจเกิดจาก แมลงวันมาวางไข่ที่แผล และฟกตัวเป็นหนอนท าให้แผลมีการอกเสบอย่างรุนแรง
               โดยเฉพาะแผลที่กีบซึ่งป้องกันได้โดยการล้างแผลให้สะอาด และใช้ยาส าหรับป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน
               ทั้งที่อยู่ในรูปที่ผสมกับวาสลีน หรือ เป็นยาผง ส าหรับพ่นกันแมลงและรักษาแผล นอกจากนี้อาจเกิดการติดเชื้อ
               แทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถท าการป้องกันได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะให้กับสัตว์ป่วย

               การควบคุมและป้องกันโรค
                   1.  ฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยทั้ง 3 ไทป์ คือ โอ เอ และเอเชียวัน
                       -  กระบือต้องได้รับการฉีดในวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ปีละ 2 ครั้ง
                       -  ลูกกระบือ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อลูกกระบืออายุ 4 เดือน และท าวัคซีนกระตุ้น 1 เดือน

                   2.  ถ้าพบสัตว์ป่วยให้แยกตัวที่ป่วยออกให้ห่างจากสัตว์ปกติ มาอยู่ในคอกที่มีพื้นนิ่มและไม่ชื้นแฉะ
                   3.  คอกสัตว์ป่วย ควรท าความสะอาดฆ่าเชื้อโรคด้วยโซดาไฟ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือโรยปูนขาว
                   4.  ก่อนน าสัตว์ใหม่เข้ามาเลี้ยงควรพักดูอาการอย่างน้อย 1 เดือน
                   5.  เข้มงวดบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาเยี่ยมชมฟาร์มให้มาก เพราะอาจน าโรคระบาดเข้ามา

               การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อยโดยการฉีดวัคซีน
                                          ั
                               การฉีดวัคซีนป้องกนโรคปากและเท้าเปื่อย ควรฉีดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะสามารถลดโอกาส
               ของการเกิดโรคภายในฝูงสัตว์ได้ กรมปศุสัตว์ได้จัดบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยโดยไม่คิด
               มูลค่า ให้แก่เกษตรกรโดยจัดเป็นช่วงในการรณรงค์ การฉีดวัคซีนขึ้น 2 รอบ ดังนี้

                       รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
                       รอบที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
               การด าเนินงานฉีดวัคซีนให้มีประสิทธิภาพต้องค านึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้




                                                             คู่มือการผลิตกระบือพันธุ์ส าหรับผู้ประกอบการ | 79
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91