Page 6 -
P. 6
์
ิ
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จ
ชุมชนได้อย่างครอบคลุมและชัดเจนทั้งในเรื่องการรับอนุญาตและสิทธิในการบริหารจัดการที่ดิน แต่มีข้อจำกัด
เกี่ยวกับระยะเวลานการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
ดังนั้น ในระยะแรกจึงควรพิจารณาใช้แนวทางเลือกที่ 1 หรือ 2 เนื่องจากปรับปรุงเพียงหลักเกณฑ์การ
จัดที่ดินเท่านั้น โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย และในระยะยาวเมื่อชุมชนมีประสบการณ์และสามารถบริหารจัดการ
ิ่
ที่ดินร่วมกันได้แล้วอาจพิจารณาแก้ไขเพมเติมพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ต่อไป
1.2) สิทธิการบริหารจัดการที่ดิน
ควรมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ชุมชนต้องมีแนวทางหรือแผนงานในการจัดการที่ดินร่วมกันอย่างเป็น
ระบบ รูปแบบการจัดทำแนวทางหรือแผนงานการจัดที่ดินดังกล่าวควรสอดคล้องกับแนวทางเลือกเกี่ยวกับผู้ที่
ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่นำเสนอข้างต้น กล่าวคือ การจัดทำในรูปแบบของข้อบัญญัติท้องถิ่น
การจัดทำโดยกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มราษฎร หรือจัดทำโดยชุมชนเพอประกอบการ
ื่
ขอรับอนุญาต
2) ผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน
ทางเลือกที่ 1 ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน 2 เรื่อง คือ (1) ยกเลิกคุณสมบัติเรื่องการ
เป็นผู้ยากไร้ไม่มีที่ทำกินและ/หรือที่อยู่อาศัย หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท/คน และ (2) ปรับปรุง
คุณสมบัติเรื่องการมีความสามารถทำประโยชน์ในที่ดิน โดยเปลี่ยนเป็น “เป็นเกษตรกรที่มีความสามารถในการ
ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากร” และควรกำหนดเงื่อนไขในการขอรับการ
จัดที่ดินให้เกษตรกรจะต้องจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบการพิจารณาด้วย
ี่
ทางเลือกท 2 ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงคุณสมบัติใด เนื่องจากการจัดที่ดินในปัจจุบันโดยสภาพความเป็น
จริงจะพิจารณาจัดให้แก่ผู้ที่ครอบครองอยู่เดิมหรือผู้ที่ถูกผลักดันและอพยพออกจากพนที่ป่าอยู่แล้วโดยไม่ต้อง
ื้
พิจารณาคุณสมบัติ หรือหากกรณีเป็นผู้ถือครองรายใหม่หรือมีการเปลี่ยนมือซึ่งต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ
ก็อาจได้รับการผ่อนผันให้เป็นการเฉพาะรายอยู่แล้ว
3) ระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน
ทางเลือกที่ 1 ให้สิทธิอยู่อาศัยและทำประโยชน์เป็นการถาวรโดยต่ออายุการอนุญาตไปเรื่อย ๆ (เว้น
แต่จะปฏิบัติผิดเงื่อนไขการใช้ที่ดิน) โดยไม่ต้องชำระค่าตอบแทน
ทางเลือกที่ 2 ให้สิทธิอยู่อาศัยและทำประโยชน์เป็นการถาวรโดยต่ออายุการอนุญาตไปเรื่อย ๆ (เว้น
แต่จะปฏิบัติผิดเงื่อนไขการใช้ที่ดิน) โดยให้มีการชำระค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน ซึ่งทางเลือกนี้ ผู้รับจัดที่ดินไม่
ขัดข้องที่จะต้องชำระค่าตอบแทน และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ทั้งในแง่เชิงสังคมและเป็นประโยชน์ต่อ
หน่วยงานของรัฐที่สามารถนำค่าตอบแทนนั้นกลับมาพัฒนาพื้นที่ได้ด้วย
4) ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ทางเลือกที่ 1 ควรพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกำหนดให้สามารถนำที่ดินไป
ใช้เพื่อทำการเกษตร เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชน และกิจกรรมที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม