Page 4 -
P. 4
ื
ิ
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค
ประกอบกับการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและการสังเกต การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย คทช.
โดยใช้แนวทางการประเมินแบบ CIPP เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดและอุปสรรคในกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่าง
ครอบคลุม จากนั้นจึงนำผลการประเมินแบบ CIPP มาจำแนกข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ซึ่งพบข้อจำกัดในด้าน
มาตรการในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดที่ดินที่ควรมีการปรับปรุง ในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน จึงได้นำเสนอ
ทางเลือกการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินในแต่ละด้าน พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า
1. นโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ในรูปแบบแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ ของ คทช. มีหลักการ
สำคัญในการอนุญาตให้มีการทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยกลุ่มคนหรือชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากไร้
และป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันกับแนวคิดทางกฎหมายและ
ื่
เศรษฐศาสตร์ หลักการตามรัฐธรรมนูญ และนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่หลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินเพอ
เกษตรกรรมในป่าสงวนแห่งชาติและบทบัญญัติในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 อาจเป็น
อุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายของ คทช. บางประการ เช่น หลักเกณฑ์ในกำหนดให้ผู้รับอนุญาตคือผู้ว่า
ราชการจังหวัด การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่สมควรได้รับจัดที่ดิน เป็นต้น รวมถึงบทบัญญัติทางกฎหมาย
ในด้านการรับรองสิทธิของชุมชน ปัญหาความมั่นคงในการถือครองที่ดินของรัฐ
2. การทบทวนงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนนการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งปัญหา
บางเรื่องที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วคือการออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.
2562 ปัญหาความแตกต่างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินในกฎหมายฉบับต่าง ๆ ปัจจุบันยังไม่ได้รับการ
จัดการที่เหมาะสมและปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
3. การศึกษาสภาพข้อเท็จจริง ปัญหา และอุปสรรคในการจัดที่ดินทำกินใช้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย
เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการตามรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ทำให้ทราบว่าถึงปัญหาในเชิง
พื้นที่ด้านปัจจัยนำเข้า เช่น ปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินของรัฐทำให้ไม่สามารถจัดที่ดินได้ หลักเกณฑ์การจัดที่ดิน
บางเรื่องไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาผู้ที่สมควรได้รับการจัดที่ดินและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
หน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานได้และยังขาดการบูรณา
การ เกษตรกรหรือผู้ที่ได้รับที่ดินยังขาดความพร้อมในการรวมกลุ่ม เป็นต้น ด้านกระบวนการ คือ กระบวนการ
ดำเนินงานมีความล่าช้าและไม่เหมาะสมกับหลักการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านผลผลิต คือ
ผลการดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เท่าที่ควร เช่น ประชาชนยังประกอบอาชีพเดิม
และยังไม่มีรายได้ที่ดีขึ้นเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน ประชาชนบางรายในพื้นที่มีเพียงที่อยู่อาศัยไม่มีที่ดิน
ทำกิน ชุมชนยังไม่มีส่วนร่วมหรือบทบาทในการบริหารจัดการที่ดินและการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ
ของชุมชน เป็นต้น
4. การดำเนินงานตามนโยบายของ คทช. มีข้อจำกัดและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านนโยบาย
ได้แก่ ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกัน ด้านกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507