Page 5 -
P. 5
ิ
ิ
์
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง
ยังไม่เอื้อต่อการจัดที่ดินให้กับชุมชน ปัญหาความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดิน ด้านมาตรการ ประกอบด้วย
ข้อจำกัดด้านหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน ได้แก่ ชุมชนยังไม่มีบทบาทในการบริหารจัดการที่ดินเท่าที่ควร ปัญหา
ความมั่นคงในการถือครองที่ดิน หลักเกณฑ์เรื่องความยากไร้ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง หลักเกณฑ์
เรื่องการมีความสามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้ยังระบุไว้ไม่ชัดเจน เกษตรกรไม่สามารถนำที่ดินไปใช้ในกิจการ
ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรได้ และชุมชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดิน และข้อจำกัดด้านมาตรการ
ส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ยังไม่เห็นผลในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็น
รูปธรรม และด้านองค์กร ได้แก่ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดที่ดินและวิธีการ
ขั้นตอนปฏิบัติที่ไม่ครบถ้วนเพียงพอ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบการ
พึ่งพาตนเองมากกว่าที่จะส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ปัญหาการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับจัด
ที่ดินโดยหน่วยงานของรัฐและปัญหาการรวมกลุ่มหรือการมีองค์กรในระดับชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในการบริหาร
จัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและการกำกับติดตามที่เป็นระบบ
5. ตามข้อจำกัดด้านมาตรการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและข้อจำกัดของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกิน
ซึ่งเป็นประเด็นที่รายงานฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวทางการปรับปรุงแก้ไข จึงได้เสนอแนวทางการ
ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่
คุณสมบัติของผู้ที่สมควรจะได้รับการจัดที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิทธิในที่ดิน และประโยชน์ตอบแทนรัฐที่
เหมาะสม
3. ข้อเสนอแนะ
3.1 ข้อเสนอในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
1) สิทธิตามหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
1.1) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
ทางเลือกที่ 1 ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รับอนุญาต ข้อดี
ของทางเลือกนี้ คือ ผู้รับอนุญาตเป็นตัวแทนของชุมชน มีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพแวดล้อม ปัญหาและความ
ต้องการของชุมชน และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง
กฎหมาย
ทางเลือกที่ 2 ควรให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มราษฎรเป็นผู้รับอนุญาต ข้อดีของ
ทางเลือกนี้ คือ ชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการบริหารจัดการการใช้ที่ดินและเป็นไปตามแนวทางที่
กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.
2563
ทางเลือกที่ 3 ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เพื่อรับรองสิทธิของ
ชุมชนในการได้รับอนุญาตในนามของชุมชน การแก้ไขกฎหมายแม่บทมีข้อดีคือสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิ