Page 3 -
P. 3
์
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข
บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : การศึกษาเพื่อทบทวนหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชน
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
(ภาษาอังกฤษ) : The study for reviewing criteria on allocation of agriculture land to the
community in the national reserved forest
ชื่อคณะผู้วิจัย:
1. นางสาวภาวิณี อุดมใหม่ นักวิจัยหัวหน้าโครงการ
2. นางสาวธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ นักวิจัยร่วมโครงการ
3. นางสาวใบตอง รัตนขจิตวงศ์ นักวิจัยร่วมโครงการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ ์ ที่ปรึกษาโครงการ
งบประมาณและระยะเวลาทำวิจัย:
ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณที่ได้รับ 929,000 บาท
ระยะเวลาทำวิจัย ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
สรุปโครงการวิจัย
บทนำ
นโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนโดยหลักการแล้วสามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่ได้รับการจัด
ที่ดินให้มีสิทธิอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขในการจัดที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินยังคงเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดเดิมของหน่วยงาน
เจ้าของพื้นที่ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และซับซ้อน อีกทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดที่ดินของหน่วยงานของรัฐที่แตกต่างกันออกไปทำให้เกิด
ความลักลั่นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดที่ดินในที่ดินแต่ละประเภทและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถงที่ดิน
ึ
ของประชาชน ซึ่งอาจส่งผลให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวนี้อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินให้กับ
ประชาชนได้อย่างถาวร จึงควรมีการทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดินและการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้
บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการจัดที่ดินรัฐแต่ละประเภท ดังนั้น การศึกษา
นี้จึงได้ทำการศึกษาการจัดที่ดินรัฐประเภทป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อที่เป้าหมายและมีการออกหนังสืออนุญาต
ภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนแล้วจำนวนมากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพอ
ื่
วิเคราะห์ข้อจำกัดและอปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายและเสนอแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัด
ุ
ที่ดินทำกินให้ชุมชน
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดพื้นที่
เป้าหมายจำนวน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ป่าพระฉาย จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ป่าปลายห้วยกระเสียว จังหวัด
อุทัยธานี ขนาดของตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประมาณพื้นที่ละ 15 – 20 ราย รวมทั้งจัดกิจกรรมการสนทนากลุ่ม