Page 53 -
P. 53
ิ
์
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.2.7.2 การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
หลักการและเหตุผล
ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ดินขาดความอุดมสมบรูณ์ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
ประกอบกับเกิดกระแสความตื่นตัวด้านรักษ์สุขภาพของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และการผลิตที่ไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม (Green Production) เพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย และเป็น
สินค้าที่สร้างคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ผู้บริโภค (Value Creation) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความรู้ ความเข้าใจถึง
การรักษาสุขภาพจากการบริโภคอาหาร และมีความเชื่อมั่นว่าสินค้าอินทรีย์จะทำให้สุขภาพร่างกายไม่มีความเสียง
่
จากสารเคมีสังเคราะห์และจะช่วยสนับสนุนเกิดสมดุลของระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน
รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้านการผลิต การค้า
การบริโภค และการบริการเกษตรอินทรีย์ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยมียุทธศาสตร์การ
พัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2564 ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์
ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ 2) พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ 3) พัฒนาการ ตลาดสินค้า
และบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ 4) การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์โดยมีเป้าหมายพื้นที่
เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 1,333,960 ไร่ โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบคือกรมวิชาการเกษตร
นิยามเกษตรอินทรีย์
• ผลิตภัณฑ์อินทรีย์(Organic Products) คือ ผลิตภัณฑ์จากระบบการเกษตรแบบเกษตร
อินทรีย์(Organic Farming) ซึ่งปลอดจากสารเคมีและการปรุงแต่งโดยสารสังเคราะห์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ในทุกๆขั้นตอนการผลิต การแปรรูป และการเก็บรักษา ทั้งนี้ความต้องการของผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์ได้เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการซื้อ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการบริโภค คือ ความสมเหตุสมผลของราคาโดยเปรียบเทียบ ความเชื่อมั่น/การยอมรับระบบ ตรวจสอบ
รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และอำนาจซื้อของผู้บริโภค
• เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความ
ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของ
พืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
สังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้
ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้นทานโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง (สถาบันเกษตรอินทรีย์
นานาชาติIPOM) และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้นิยามเกษตรอินทรีย์คือระบบการ
จัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ
ธรรมชาติหลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่ได้มาจากการสังเคราะห์และไม่ใช้พืช สัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปร
พันธุกรรม (GMO) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็น
เกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน โดยใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ที่ยอมรับกันทั่วไป คือ
หลักการที่กำหนดโดยสหพันธ์ เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture
Movements – IFOAM) ประกอบด้วย 4 มิติคือ สุขภาพ นิเวศวิทยา ความเป็นธรรม และการดูแลเอาใจใส่
35