Page 51 -
P. 51

ิ
                                               ์
                              ื
                                                                                ิ
                                           ิ
                                 ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                         - การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) คือ

               แนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยกระบวนการ
               ผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อ
               สิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน GAP ก่อให้เกิด

               ความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
               และอาหารแห่งชาติและประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                                         - การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านพืชอาหาร (Good Agricultural Practices for
               Food Crop) ซึ่งครอบคลุมข้อกำหนดการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตพืช เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต

               สำหรับใช้เป็นอาหาร เช่น พืชผัก ไม้ผล พืชไร่ พืชเครื่องเทศ พืชสมุนไพร
                                         - การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (Good Agricultural Practices for

               Livestock) เช่น การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์สำหรับฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ไข ฟาร์มโคนม
               ฟาร์มโคเนื้อ สถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก ฟาร์มผึ้ง ฯ
                                         - การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practices : GAP)

               เช่น การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด ฟาร์มปลาสลิด ฟาร์ม
               เลี้ยงกุ้งทะเล ฟาร์มเลี้ยงปูม้าและปูทะเล เป็นต้น

                                     •  มาตรฐาน Code of Conduct (CoC) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้
               อุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน


                              แนวทางการดำเนินงาน
                              •  เฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร

                              •  ศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสารปนเปื้อน/วิธีการสืบสวน/ตรวจสอบย้อนกลับ/ระบาด
                                 วิทยา เพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ตรวจสอบค้นหาความไม่ปกติในระบบการผลิตและวิธี
                                 บริหารจัดการความเสี่ยง

                              •  พัฒนายกระดับความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศ เช่น ระบบการตรวจสอบรับรอง
                                 มาตรฐานสินค้าเกษตร ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ระบบการแจ้งเตือนภัยและระบบ

                                 บริหารจัดการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหา ระบบกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องตามกติกา
                                 การค้าโลก การเทียบเคียงมาตรฐานของประเทศและสากล การสร้างความเขื่อมั่นและการ
                                 16 ยอมรับมาตรฐาน/เครื่องหมายของประเทศไทย ออกประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้า

                                 เกษตรตามกฎหมาย

                              •  สร้างองค์ความรู้ด้านอาหารศึกษาและสร้างการรับรู้ความเข้าใจเครื่องหมายรับรอง การเลือก
                                 ซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐาน
                              •  ให้บริการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรแก่เกษตรกรที่ขอรับบริการอย่างทั่วถึงในเวลาที่

                                 เหมาะสม

                                                             33
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56