Page 93 -
P. 93

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                 พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




                     ของการสังเคราะห์แสงด้วยปฏิกิริยา  photophosphorylation  (chemi,  L:  สารเคมี;  osmos,
                     L: ผลัก)
               chemoautotroph  เคโมออโตโทรป  :  จุลินทรีย์ซึ่งได้รับพลังงานจากสารเคมี  และคาร์บอนจาก
                     คาร์บอนไดออกไซด์  เช่น  nitrifying  bacteria  ได้พลังงานจากการออกซิไดส์แอมโมเนียมให้เป็น

                     ไนไทรต์และไนเทรต
               chemodenitrification ดีไนทริฟิเคชันเชิงเคมี : การสูญเสียไนโตรเจนจากดินด้วยกระบวนการรีดิวซ์
                     ไนเทรตเชิงเคมี แตกต่างจากดีไนทริฟิเคชันโดยทั่วไป ซึ่งเกิดโดยกระบวนการรีดักชันของแบคทีเรีย
                     (ดู denitrification ประกอบ)

               chemoheterotroph  เคโมเฮเทอโรโทรป  :  จุลินทรีย์ซึ่งได้รับพลังงานจากสารเคมี  และคาร์บอนจาก
                     สารอินทรีย์ เช่น กลูโคส
               chitin ไคติน : พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบของเปลือกแข็งที่หุ้มเซลล์ของรา ยีสต์ และจุลินทรีย์
                     อีกหลายชนิด พบในเปลือกแข็งของแมลง กุ้ง ปู และปลาหมึก องค์ประกอบทางเคมีของไคติน คือ

                     N-acetyl-D-glucosamine  เรียงต่อกันเป็นสาย  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีไนโตรเจน  ส่วนโครงสร้าง
                     จะคล้ายเซลลูโลส ไคตินในธรรมชาติอยู่รวมกับโปรตีนและเกลือแร่
               chitosan ไคโตซำน : เป็นอนุพันธ์ของไคตินที่ผ่านกระบวนการตัดหมู่ acetyl ออกตั้งแต่ 50% ขึ้นไป
                     ส่วนนั้นจึงเป็นพอลิเมอร์ของ  glucosamine  ด้วยเหตุนี้ไคโตซานจึงเป็นพอลิเมอร์ลูกผสม  ที่มี

                     N-acetyl-D-glucosamine  และ  glucosamine  ในพอลิเมอร์เส้นเดียวกัน  ส�าหรับประโยชน์
                     ด้านการเกษตรมี 2 ประการ คือ (1) เป็นปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า และ (2) มีผลเชิงกระตุ้นการ
                     เจริญเติบโตของพืช
               chlorides คลอไรด์ : (1) แอนไอออนของกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดมิวริเอติก (muriatic acid) เรียกว่า

                     “คลอไรด์ไอออน”  และ  (2)  เกลือซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของกรดดังกล่าวกับแอลคาไลหรือโลหะ
                     เรียกว่า  “เกลือคลอไรด์”  ศัพท์เคมีโบราณเรียกเกลือมิวริเอต  เช่น  เรียกโพแทสเซียมคลอไรด์ว่า
                     muriate of potash หรือ MOP (ดู muriate of potash ประกอบ)
               chloride  fertilizer  ปุ๋ยคลอไรด์  :  ปุ๋ยเคมีซึ่งมีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบและให้ธาตุนี้แก่พืช  เช่น

                     โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH Cl) ปุ๋ยสองชนิดนี้มีราคาต่อหน่วยธาตุอาหาร
                                                              4
                     ถูกกว่า เมื่อเทียบกับปุ๋ยชนิดอื่นที่ให้ธาตุเดียวกัน
               chloride free fertilizer ปุ๋ยปลอดคลอไรด์ : ปุ๋ยที่มีคลอไรด์เจือปนอยู่น้อยกว่าเกณฑ์ที่ก�าหนด โดย
                     ปกติมักจะมีไม่เกิน 1.0-3.0% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อก�าหนดของแต่ละประเทศ

               chloride of potash คลอไรด์ออฟโพแทช : ชื่อหนึ่งที่ใช้เรียก KCl ดูค�าอธิบายใน muriate of potash
                     และ potassium chloride
               chlorine คลอรีน : ชื่อจุลธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Cl น�้าหนักเชิงอะตอม 35.5 พืชดูดใช้ในรูปคลอไรด์ไอออน
                     (Cl)  ความเข้มข้นในพืชที่จัดว่าเพียงพอ  คือ  2-20  มก.Cl/กก.  แต่อาจพบ  70-700  มก.Cl/กก.
                       -


                                                                               40 ปี       93
                                                           สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98