Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง“นโยบายการจัดที่ดินท ากินบนพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 : วิกฤติหรือ
ยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์ 7 ประการ คือ (1) เพื่อรวบรวมนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าในประเทศไทย
โดยเฉพาะลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในภาพรวม (2) เพื่อจัดท าฐานข้อมูลนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่
ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 โดยเรียงล าดับตามเวลาในลักษณะจดหมายเหตุ (3) ทบทวนประสบการณ์
นานาชาติในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าและความเชื่อมโยงกับการเกษตร (4) เพื่อทบทวนสถานภาพของ
พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ทั้งที่ยังคงสภาพและที่เปลี่ยนไปใช้เพื่อการเกษตรและกิจกรรมอื่นๆ
อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ า รวมทั้งภัยพิบัติ
(5) เพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่ไม่สามารถบังคับใช้
ตามกฎหมายที่รัฐได้ก าหนดไว้ (6) เพื่อถอดบทเรียนผลกระทบต่อการเกษตรและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการ
บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในอดีตถึงปัจจุบัน (7) ก าหนดนโยบายและมาตรการในการ
บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่เชื่อมโยงกับภาคการเกษตรไทยและลดภัยพิบัติในอนาคต
กรอบแนวคิดในการศึกษาเรื่องนี้มาจากสาเหตุของปัญหาที่ว่า รัฐได้มีนโยบายการก าหนดชั้น
คุณภาพลุ่มน้ าไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2525 โดยก าหนดให้ชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่ 1
และชั้นที่ 2 นั้น ให้เก็บไว้เป็นต้นน้ าล าธาร ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่น
อย่างเด็ดขาด ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
เป็นที่ดินท ากินภายใต้โครงการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชนของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ แต่เนื่องจาก
พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ าที่สูงที่สุดของพื้นที่ลุ่มน้ าทั้งหมดและเป็นแหล่งเก็บกักน้ าและ
อ านวยน้ าให้กับพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ าซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร จึงเกรงว่าหากน ามาใช้โดยไม่มี
มาตรการที่เหมาะสม จะมีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ าจากภัยพิบัติทั้งดินถล่มและ
การชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งการขาดแคลนน้ าและอุทกภัย ในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ าในอนาคต
จึงควรก าหนดนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ขึ้นเป็นการเฉพาะ
วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยนี้คือการพัฒนาลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้มีสมดุลระหว่าง
ระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินท ากินควบคู่กัน จึงได้มีการทบทวนวรรณกรรม
เรื่องนโยบายการบริหารจัดการลุ่มน้ าในอดีตพร้อมทั้งการส ารวจในสนามทั้งด้านกายภาพ และด้าน
เศรษฐกิจและสังคมของผู้มีส่วนได้เสียรวม 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และผู้บริหาร
ท้องถิ่น (2) เกษตรกรภาคเหนือ และ(3) เกษตรกรภาคใต้ พบว่ามีปัญหาที่ถอดบทเรียนได้ 9 ประการ
คือ (1) นโยบายในการบริหารจัดการลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ไม่มีเอกภาพ (2) มีการก าหนดนโยบายแต่ไม่
มีการปฏิบัติ (3) การบริหารจัดการยึดกฎหมายเป็นหลัก โดยไม่ค านึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
(4) การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ (5) การแก้ปัญหาบางประการด าเนินการโดยไม่มีความพร้อม
(6) ขาดการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ (7) ความล้มเหลวของการใช้เวลาเป็นหลักเกณฑ์ในการเข้าท ากิน
ของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้มาก าหนดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา (8) การก าหนดนโยบายการเกษตรไม่
สอดคล้องกับนโยบายป่าไม้ และ(9) ขาดระบบข้อมูลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้ก าหนดยุทธศาสตร์ในการบริหาร
จัดการรวม 5 ด้าน คือ (1) การวางแผนการใช้ที่ดิน (2) การสร้างสมดุลในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมกับการ
พัฒนาคุณภาพชีวิต (3) การลดการใช้พื้นที่การเกษตร (4) การบูรณาการในการขับเคลื่อนการจัดที่ดินท ากิน
และ (5) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
ฉ