Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.4 ผลการวิจัย
ผลการวิจัยได้จัดท าเป็นรายงาน 12 บท ภาคผนวก 3 เรื่อง ซึ่งจะสรุปตามลักษณะงานได้ 5 ส่วน
คือ (1) การทบทวนวรรณกรรม (2)การส ารวจความเห็นผู้มีส่วนได้เสียในการจัดที่ดินท ากินให้ชุมชนภายใต้
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (3) การส ารวจพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่มีและไม่มีระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ (4) การสังเคราะห์ข้อมูลและการถอดบทเรียน
และ(5) การจัดท าข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
4.4.1 การทบทวนวรรณกรรม มีการด้าเนินการรวม 6 เรื่อง คือ
(1) การทบทวนนโยบายและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการลุ่มน้ ารวม
13 ระยะ คือ ก่อนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1-ฉบับที่ 12 อีก 12 ระยะ นโยบายและเหตุการณ์ที่ทบทวนได้น ามาจัดเป็นระบบฐานข้อมูล
ที่เรียงล าดับเวลาในลักษณะจดหมายเหตุ (Chronicle) (รายงานบทที่ 2)
(2) การทบทวนสถานการณ์ป่าไม้ที่ครอบคลุมถึงองค์กรในการบริหารที่มีอยู่
3 หน่วยงาน คือ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่ง มีกฎหมายบังคับใช้อยู่จ านวน 7 ฉบับ มีนโยบายป่าไม้แห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ได้ก าหนดเป้าหมายของพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ แต่ปัจจุบัน
มีเนื้อที่ป่าไม้เพียง 102 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31.8 สาเหตุที่ส าคัญของการลดลงพื้นที่ป่าไม้ คือนโยบายของรัฐ
ไม่มีเอกภาพและขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน (รายงานบทที่ 3)
(3) การทบทวนเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ าที่ครอบคลุมแนวคิดการก าหนด
ขอบเขตลุ่มน้ า ซึ่งปัจจุบันมี 22 ลุ่มน้ าหลัก 353 ลุ่มน้ าสาขา การจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ าที่มีมติคณะรัฐมนตรี
มาตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 รวมทั้งสถานภาพพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในปัจจุบันที่มีการใช้
ประโยชน์หลายอย่างในปัจจุบัน (รายงานบทที่ 4 และบทที่ 9)
(4) การทบทวนการชะล้างพังทลายของดินและการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม ซึ่งพบว่า
ในปี 2563 มีการชะล้างพังทลายของดินในระดับปานกลางถึงรุนแรงมากรวม 78.14 ล้านไร่ มูลค่าการสูญเสีย
ธาตุอาหารหลักถึง 8,337.7 ล้านบาทต่อปี มาตรการที่ใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ ามีทั้งวิธีกลและวิธีพืช ส่วน
การเกิดภัยพิบัติ ดินถล่มนั้นได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่างๆ สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
(รายงานบทที่ 5)
(5) การทบทวนประสบการณ์นานาชาติ พบว่ามีการให้ความส าคัญพื้นที่ภูเขาและ
ป่าต้นน้ า การบริหารจัดการมีวิธีการต่างๆ เช่น การจัดท าขั้นบันไดดินเพื่อการเกษตร (Agricultural
terrace) ในพื้นที่สูง เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น การน าระบบการจ่ายเพื่อตอบแทนผลประโยชน์
ระบบนิเวศ (PES) ในการอนุรักษ์ต้นน้ าและการปลูกป่า การสร้างป่าชุมชน การเลี้ยงผึ้งเพื่อลดการท าลาย
ป่าต้นน้ า การแก้ปัญหาการท าไร่หมุนเวียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและการใช้พื้นที่ภูเขาเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยว ซึ่งมาตรการบางด้านได้น ามาจัดท าเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในครั้งนี้ (รายงานบทที่ 6)
(6) การทบทวนความเป็นมาและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการนโยบายที่ดิน
แห่งชาติ (คทช) ในการน าพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 มาจัดเป็นที่ดินท ากินให้ชุมชนที่มีการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอาชีพและการตลาดและการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยที่ดินยังเป็นของรัฐ
(รายงานบทที่ 7)
ค