Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                            3


                       เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างตลาดในระบบค้าข้าวของไทยพบว่ามีความไม่สมดุลระหว่างจำนวนผู้ซื้อและ

               ผู้ขายอย่างมาก เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีจำนวนมากถึง 3.71 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเล็กมีฐานะ
               ยากจน มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยเพียง 15.81 ไร่ต่อครัวเรือน ในขณะที่จำนวนโรงสีมีอยู่เพียงแค่ 1,444 ราย

               ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง และจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พบว่ามีผู้

               ส่งออกข้าวเป็นสมาชิกจำนวน 213 ราย ซึ่งน้อยกว่าจำนวนโรงสีข้าวหลายเท่า โครงสร้างตลาดที่มีการกระจุกตัว
               ของผู้ซื้อสูงดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้ควรสงสัยว่ากลไกการส่งผ่านราคาข้าวไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ก็เป็นได้

                       ดังที่กล่าวมาแล้วว่าราคาข้าวไทยอิงอยู่กับราคาข้าวในตลาดโลกเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยต้อง

               พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนค่อนข้างสูงและต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก เมื่อราคาข้าวในตลาดโลก
               มีความผันผวน ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศ และส่งผลต่อเนื่องไปยังการตัดสินทำการผลิต

               และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอีกทอดหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการคำนวณพบว่าราคาข้าวเปลือกในปี

               พ.ศ. 2560 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงถึง 915 บาทต่อตันต่อเดือน นอกจากนั้น โครงสร้างตลาดในระบบค้าข้าว
               ของไทยมีการกระจุกตัวของผู้ซื้อค่อนข้างสูง อาจทำให้กลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกมายังราคาข้าวเปลือก

               ภายในประเทศไม่สมบูรณ์และไม่เป็นธรรม

                       ดังนั้น ในการศึกษานี้จะมุ่งเน้นพิจารณากลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกมายังราคาข้าวสารและราคา
               ข้าวเปลือกภายในประเทศ ในประเด็นว่ามีการส่งผ่านราคาอย่างสมบูรณ์ (complete transmission) หรือไม่ และ

               การส่งผ่านราคามีความไม่สมมาตร (asymmetric transmission) โดยเปรียบเทียบทั้งในด้านขนาด (magnitude)

               ของการปรับตัวขึ้นและปรับตัวลงของราคาข้าวภายในประเทศต่อการปรับตัวของราคาข้าวส่งออก อีกทั้ง
               เปรียบเทียบในด้านมิติเวลาว่าการปรับตัวของราคาข้าวภายในประเทศในช่วงขาลงกับขาขึ้นมีความล่าช้า (time

               lag) แตกต่างกันหรือไม่ต่อการตอบสนองการปรับตัวของราคาข้าวส่งออก โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติเชิง

               พลวัต ผลการศึกษานอกจากจะทำให้ทราบถึงลักษณะการส่งผ่านราคาและพยากรณ์ความเคลื่อนไหวของระดับ
               ราคาข้าวภายในประเทศแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาข้าว

               ภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาข้าวเปลือก เพื่อบรรเทาปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ

               เกษตรกรต่อไป
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12