Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือมุ่งศึกษากลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกมายังราคาข้าวสารและ
ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศว่ามีการส่งผ่านราคาอย่างสมบูรณ์ (complete transmission) หรือไม่ และการ
ส่งผ่านราคามีความไม่สมมาตร (asymmetric transmission) หรือไม่ โดยแยกวิเคราะห์ตลาดข้าว 6 ชนิด คือ ข้าว
ขาว 5% ข้าวขาว 25% ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอม ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง โดยใช้ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.
2558 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 แบบจำลองที่ใช้ คือ Asymmetric Error Correction Model (AECM) ผล
ศึกษาพบว่า 1) ราคาข้าวเปลือกทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาข้าวเปลือกเหนียวมีการตอบสนองต่อการ
เปลี่ยนแปลงราคาข้าวสารภายในประเทศค่อนข้างน้อยและปรับตัวช้า เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก
การปรับตัวสูงขึ้นของราคาข้าวสาร เนื่องจากเกษตรกรมีอำนาจต่อรองและรับรู้การเปลี่ยนแปลงราคาได้น้อยกว่าผู้
ซื้อ 2) การส่งผ่านจากราคาส่งออกข้าวไปยังราคาข้าวสาร 5% และ 25% ภายในประเทศทำงานได้ค่อนข้างดี
เนื่องจากเป็นข้าวชนิดหลักที่มีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเข้าถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลง
ในตลาดได้ง่าย อีกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีอำนาจต่อรองใกล้เคียงกัน และหยงสามารถทำหน้าที่คนกลางในการส่งผ่าน
ราคาได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ 3) การส่งผ่านจากราคาส่งออกไปยังราคาข้าวสารในประเทศสำหรับข้าวหอมมะลิ
และข้าวเหนียวมีความไม่สมมาตร การปรับสูงขึ้นของราคาข้าวสารเมื่อราคาส่งออกสูงขึ้นมีขนาดน้อยกว่าการ
ปรับตัวลดลงของราคาข้าวสารเมื่อราคาส่งออกลดลง เนื่องจากโครงสร้างตลาดมีการกระจุกตัวของผู้ซื้อสูงทำให้
โรงสีข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าผู้ส่งออก 4) กลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวนึ่งส่งออกไป
ยังราคาขายส่งข้าวนึ่งในประเทศสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงราคาส่งออกข้าวนึ่งสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออก
ข้าวนึ่งทั้งหมดเป็นโรงสีข้าวขนาดใหญ่และผลผลิตข้าวนึ่งทั้งหมดจะถูกส่งออกไปขายต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม
กลไกการส่งผ่านไม่สมบูรณ์และไม่สมมาตรในช่วงราคาลดลงเนื่องจากโรงสีไม่สามารถลดราคาขายส่งเพื่อเพิ่มความ
ต้องการใช้ข้าวนึ่งภายในประเทศ กล่าวโดยสรุป กลไกการส่งผ่านจากราคาในตลาดซื้อขายข้าวเกือบทุกชนิดและ
ทุกระดับมีความไม่สมบูรณ์ เนื่องจากปัญหาอำนาจการกำหนดราคาของผู้ซื้อเหนือกว่าผู้ขายและความไม่สมบูรณ์
ของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นแนบนโยบายและมาตรการของรัฐจึงควรมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยสนับสนุน
ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ส่งเสริมให้มีธุรกิจท่าข้าวหรือศูนย์กลางค้าข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มช่อง
ทางการจำหน่ายและการแข่งขัน เผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์และแนวโน้มราคาข้าวและการค้าข้าวให้รับรู้อย่าง
ทั่วถึง เสริมสภาพคล่องเพื่อช่วยให้โรงสีมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอและแข่งขันกันรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร
มากขึ้น และส่งเสริมให้โรงสีข้าวพัฒนาธุรกิจหันมาส่งออกข้าวเองมากขึ้น