Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                            1


                                                           บทที่ 1

                                                            บทนำ


               1.1 ที่มาและความสำคัญ

                       ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชอาหารหลักสำหรับการบริโภค
               ภายในประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นพืชส่งออกที่เป็นแหล่งรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ในปีการผลิต พ.ศ.

               2559/60 มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวน 3.71 ล้านครัวเรือน และจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรใน

               ตารางที่ 1.1 พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปี 58.43 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.49 ของพื้นที่
               การเกษตรทั้งหมด และมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังอีก 9.8 ล้านไร่ โดยมีผลผลิตข้าวเปลือกรวมทั้งปี 31.80 ล้าน

               ตัน หรือคิดเป็นผลผลิตข้าวสารได้ประมาณ 21.15 ล้านตัน

                       ประเทศไทยผลิตข้าวได้มากกว่าความต้องการบริโภคภายในประเทศ ในแต่ละปีผลผลิตข้าวสารประมาณ
               ครึ่งหนึ่งจะต้องส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศ จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในตารางที่ 1.2 พบว่า ในปี

               พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวจำนวน 11.63 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 54.98 ของผลผลิต

                                                        1
               ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 5,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  นอกจากนั้น ยังถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าว
               รายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากอินเดีย โดยมีคู่แข่งที่สำคัญอีกรายหนึ่งคือ เวียดนาม ตารางที่ 1.3 แสดง

               ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดปลายทางที่สำคัญ ประเทศผู้นำเข้าข้าวไทยที่สำคัญ ได้แก่ เบนิน จีน

               แอฟริกาใต้ แคเมอรูน
                       ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ แต่ประเทศไทยต้องเผชิญกับประเทศคู่แข่งขันที่

               สำคัญ คือ เวียดนาม และอินเดีย Mahanaseth and Tauer (2014) ทำการศึกษาอำนาจเหนือตลาดในการส่งออก

               ข้าวไทยไปยังตลาดปลายทางที่สำคัญพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาดในการส่งออกข้าว เนื่องจากข้าว
               ของไทยและข้าวของคู่แข่งสามารถทดแทนกันได้ดี ผลการศึกษาดังกล่าวมีนัยว่าประเทศไทยไม่สามารถกำหนด

               ราคาข้าวส่งออกในตลาดโลก หากแต่ต้องเป็นผู้รับเอาราคา (price taker) จากตลาดโลก และสอดคล้องกับ

               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2559) ที่พบว่าราคาข้าวไทยเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการนำเข้าข้าวจากไทยลดลง
               อย่างมีนัยสำคัญเพราะการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก ตารางที่ 1.4 แสดงข้อมูลเปรียบเทียบราคาข้าวส่งออกของ

               ไทย เวียดนาม และอินเดีย พบว่าข้าวส่งออกของทั้งสามประเทศมีราคาใกล้เคียงกัน จากการคำนวณพบว่าราคา

               ข้าวส่งออกของทั้งสามประเทศมีสหสัมพันธ์กันสูงมาก ราคาข้าวขาวส่งออกของไทยกับเวียดนามมีสหสัมพันธ์กัน
               ร้อยละ 71.45 ราคาข้าวส่งออกของไทยและอินเดียมีสหสัมพันธ์ร้อยละ 75.61 และราคาข้าวส่งออกของเวียดนาม






               1  http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=748&language=th
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10