Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
53
บทที่ 6
ผลการศึกษา
เนื้อหาในบทนี้จะนำข้อมูลราคาข้าวชนิดต่างๆซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติทางสถิติเบื้องต้น
ดังที่กล่าวไว้ในบทที่ 5 แล้วมาทำการประมาณค่าสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาข้าวเปลือกกับราคา
ข้าวสาร และสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาข้าวสารกับราคาข้าวส่งออก เพื่อวิเคราะห์กลไกการส่งผ่าน
ราคาข้าวจากราคาข้าวส่งออกผ่านไปยังราคาข้าวสาร และจากราคาข้าวสารต่อไปยังราคาข้าวเปลือก
ในบทนี้จะเริ่มต้นด้วยการอธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์และการทดสอบสมมติฐานเชิงสถิติเพื่อเลือก
แบบจำลองการส่งผ่านราคาที่เหมาะสมสำหรับข้าวแต่ละชนิด หลังจากนั้นจะแสดงผลการประมาณค่าสมการการ
ส่งผ่านราคา และนำผลการประมาณค่าที่ได้มาใช้วิเคราะห์กลไกการส่งผ่านราคาในตลาดข้าวทั้งในระยะสั้นและ
ระยะยาว ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวจะนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่สำคัญของการศึกษานี้ต่อไป
6.1 วิธีการทดสอบสมมติฐานเชิงสถิติเพื่อเลือกแบบจำลองการส่งผ่านราคาข้าวที่เหมาะสม
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 5 ว่าแบบจำลองที่ใช้สำหรับการศึกษานี้คือแบบจำลองการปรับตัวเพื่อกลับ
เข้าสู่ดุลยภาพ (error correction model) หรือ ECM ซึ่งมีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถแสดงกลไกการปรับราคาที่
ไม่สมมาตรระหว่างทิศทางสูงขึ้นกับทิศทางลดลง โดยมีรูปแบบสมการดังนี้
M
N
0
+
−
+
−
+
p out,t = + K out,j p out,t-j p in,t-j+1 p − in,t-j+1 + out ECT out,t 1 + out ECT out,t 1 − − + (6.1)
+
+
+
−
in, j
out,t
in,j
j=1 j=1 j= 1
เมื่อ K M และ N คือจำนวนตัวแปรล่าช้า (lag length) ซึ่งสามารถกำหนดค่าที่เหมาะสมได้โดยใช้วิธี
Akaike information criteria (AIC) โดยที่ p คือ ราคาปลายทาง และ p คือ ราคาต้นทาง สำหรับกรณี
out,t
in,t
การส่งผ่านราคาจากราคาข้าวสารไปยังราคาข้าวเปลือก p คือ ราคาข้าวสาร และ p คือ ราคาข้าวเปลือก
in,t
out,t
สำหรับกรณีการส่งผ่านราคาจากราคาข้าวส่งออกไปยังราคาข้าวสาร p คือ ราคาข้าวส่งออก และ p คือ
in,t
out,t
ราคาข้าวสาร ตามลำดับ สัญลักษณ์ แสดงการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า (first
difference) สาเหตุที่ต้องทำให้ตัวแปรราคาอยู่ในรูปผลต่าง เนื่องจากต้องทำให้ตัวแปรทั้งหมดมีความนิ่ง
(stationary) นอกจากนั้นสัญลักษณ์ตัวอักษรยกเครื่องหมายบวก ( ) + และเครื่องหมายลบ ( ) − แสดงถึงทิศ
ทางการปรับตัวสูงขึ้นและลดลงตามลำดับ