Page 62 -
P. 62
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
58
ผลการประมาณค่าสมการการส่งผ่านจากราคาข้าวขาว 5% ภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือกแสดงใน
ตารางที่ 6.3 รูปแบบสมการที่ใช้คือแบบจำลองที่ 1 ซึ่งก็คือแบบจำลองการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในระยะสั้น (Error
Correction Model หรือ ECM) แบบปกติทั่วไป โดยมีตัวแปรตามคืออัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวเปลือกใน
เดือนปัจจุบัน ( p paddy,t ) ในขณะที่ตัวแปรอิสระประกอบด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวเปลือกในเดือนก่อน
หน้า ( p paddy,t-1 ) และอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวสารในเดือนปัจจุบันและหนึ่งเดือนก่อนหน้า ( p rice,t และ
p rice,t-1 ) และความแตกต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกในเดือนที่แล้วกับราคาดุลยภาพในระยะยาว ( ECT paddy,t-1 )
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพคือ -0.145 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ
99 อธิบายได้ว่าถ้าราคาข้าวเปลือกสูงกว่า (ต่ำกว่า) ราคาดุลยภาพในระยะยาวแล้ว ราคาข้าวเปลือกจะปรับตัว
ลดลง (สูงขึ้น) ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อเดือนเพื่อกลับเข้าสู่ราคาดุลยภาพในระยะยาว
ตารางที่ 6.3 ผลการประมาณค่าการส่งผ่านราคาข้าวขาว 5% ภายในประเทศไปยังราคาข้าวเปลือก
ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์ S.E.
ค่าคงที่ -0.0001 (0.0010)
p -0.0453 (0.0682)
paddy,t-1
***
p rice,t 0.3647 (0.0668)
***
p rice,t-1 0.2438 (0.0832)
***
ECT paddy,t-1 -0.1450 (0.0377)
ความยืดหยุ่นระยะยาว 0.5821
R 0.4185
2
***
F-statistic 33.47
D-W 1.9935
***
* **
หมายเหตุ: , และ แสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 10, 5 และ 1 ตามลำดับ
เมื่อใช้ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการส่งผ่านราคาข้าวขาว 5% ภายในประเทศไปยังราคา
ข้าวเปลือกในตารางที่ 6.3 เพื่อแสดงผลกระทบจากราคาข้าวสาร 5% ภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1 ต่อ
การปรับตัวเชิงพลวัตรของราคาข้าวเปลือก โดยการส่งผ่านราคามีความสมมาตรทั้งในด้านความเร็วในการปรับตัว
และผลกระทบระยะยาวดังแสดงในรูปที่ 6.1 กล่าวคือ เมื่อราคาข้าวสาร 5% สูงขึ้นร้อยละ 1 (อย่างถาวร) จะทำให้
ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นทันทีร้อยละ 0.3647 และราคาข้าวเปลือกจะสูงขึ้นอีกเป็นร้อยละ 0.6235 ในเดือนถัดไป
หลังจากนั้นราคาข้าวเปลือกจะปรับลดลงเล็กน้อยจนกระทั่งเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวในเดือนที่ 4 โดยพบว่าเมื่อ