Page 63 -
P. 63

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               3.3.1 การเขารหัสวิ่งยาว (Run-Length Code)



               การเขารหัสขอมูลแบบนี้ถือวาเปนการเขารหัสแบบแรกตัวเลขที่แสดงคาของขอมูลหรือประเภทของ
               ขอมูลจะถูกเก็บบรรจุในแตละจุดภาพ ตัวอยางถาภาพมีขนาดความกวาง 1,000  สดมภและความยาว

               2,000 แถว หนึ่งชั้นขอมูลนี้จะตองเก็บบรรจุขอมูลทั้งสิ้นเทากับ 1,000 x 2,000 = 2,000,000 จุดภาพ

               (กริด)  วิธีการบีบอัดจะเริ่มดวยการจัดเก็บขอมูลทีละแถว ดวยการบันทึกเปนคูลําดับ (n, a) เมื่อ a คือ
               ตัวเลขที่ถูกบันทึกไวในจุดภาพ สวนคา n  คือ จํานวนขอมูลที่ติดกันของจํานวน a  ตัวอยางการจัดเก็บ

               ขอมูลดวยวิธีรหัสวิ่งยาวอยางงายเชน ถามีขอมูลเพียง 1 แถว จํานวน 10 สดมภ คาในแตละจุดภาพ

               เรียงกันดังนี้คือ 3 3 3 3 8 8 8 4 4 4 สามารถบีบอัดดวยการเขารหัส 3 3 3 3 ดวยคูลําดับ (3,4) การ

               เขารหัส 8 8 8 ดวยคูลําดับ (8,3) และ การเขารหัส 4 4 4 ดวยคูลําดับ (4,3) สรุปสามารถเขียนรูปแบบ
               การเขารหัสตามวิธีรหัสวิ่งยาวนี้ ไดดังนี้คือ (3,4) (8,3) (4,3) จะเห็นไดวารูปแบบนี้มีการจัดเก็บตัวเลข

               เพียง 6  ตัว จากตัวเลขทั้งหมด 10 ตัว ซึ่งคิดเปนอัตราสวนการบีบอัดขอมูล  (Compression Factor)

               เทากับรอยละ 60



















                  รูปที่ 3.10 ตัวอยางการเขารหัสขอมูลแบบรหัสวิ่งยาว: พื้นที่ศึกษา (ซาย) วิธีการบันทึกขอมูลลงใน

                                        จุดภาพ (กลาง)และวิธีการจัดเก็บขอมูล (ขวา)


               ตัวอยางการเขารหัสไฟลขอมูลของภาพขนาด 5 x 4 ของวัตถุ 2 ชนิด (Entity = 2) แสดงดังรูปที่ 3.10

               เมื่อพิจารณาในแถวที่ 1 จะเห็นไดวาขอมูลมีทั้งหมด 4 คา แตเมื่อใชวิธีการบีบอัดแบบรหัสวิ่งยาวแลว
               จะมีบันทึกดวยคูลําดับ 3 คู (0.1  1,2 และ 2,1) หรือ 6 คาซึ่งเห็นไดวามากกวาเดิมไป 2 คา ทําใหรอย

               ละของการบีบอัดเทากับรอยละ 150 (= 6/4*100 = 150) จะเห็นไดวานี้เปนขอดอยอยางหนึ่งที่เกิดขึ้น

               กรณีที่แถวใด ๆ มีลักษณะแตกตางกันมากมาตอกัน ยอมทําใหไมเกิดประโยชนตอการบีบอัดดวยวิธีนี้
               ดังนั้นเมื่อพิจารณาปริมาณขอมูลถูกบีบอัดทั้งหมดจะไดตัวเลขทั้งหมด 10 คูหรือ  (ตั้งแต 0,1  1,2 2,1

               ไปจนถึง 0,4) ซึ่งเทากับ 20 จํานวนซึ่งเทากับอัตราสวนการบีบอัดรอยละ 100 พอดี





                                                          -54-
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68